ธปท.สภอ. เผย ภัยแล้ง การใช้จ่ายภาครัฐลด หดตัว งบประมาณล่าช้า วิกฤตโรคโควิด -19 ทำเศรษฐกิจอีสานทรุดหนัก
ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท.สภอ.) นำส่งสรุปภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือน ก.พ. 63 มีรายละเอียดดังนี้
ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก.พ. 63 หดตัวมากขึ้นจากเดือนก่อน โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอลง จากสถานการณ์ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่กระทบการใช้จ่ายหมวดบริการของผู้บริโภค ประกอบกับการบริโภคสินค้าคงทนหดตัวต่อเนื่อง ตามกำลังซื้อที่ยังไม่เข้มแข็ง
ด้านสาขาเศรษฐกิจสําคัญอื่นยังคงหดตัว ได้แก่ผลผลิตเกษตรหดตัวจากผลของภัยแล้ง การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวทั้งรายจ่ายประจําและรายจ่ายลงทุน จากความล่าช้าของ พ.ร.บ.งบประมาณปี2563 การลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนก่อสร้างและเครื่องจักรอุปกรณ์และการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวมากขึ้นจากการผลิตแปรรูปเกษตรที่หดตัวตามวัตถุดิบที่ลดลงจากภัยแล้ง และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวตามการส่งออก
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง ตามราคาน้ํามันขายปลีกในประเทศที่ลดลงตามราคาตลาดโลก จากสถานการณ์ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่แพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ มากขึ้น ทําให้อุปสงค์การใช้น้ํามันโลกลดลง ด้านอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ตามการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่ลดลงในสาขาบริการ การค่า และก่อสร้าง สําหรับภาคการเงิน เดือนมกราคม 2563 ยอดเงินฝากคงค้าง ชะลอตัวจากเดือนก่อน ทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เนื่องจากผู้ฝากเงินมีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น ประกอบกับเงินช่วยเหลือเกษตรกรทยอยลดลง ด้านยอดสินเชื่อคงค้างชะลอตัวจากเดือนก่อนเนื่องจากสถาบันการเงินระมัดระวังการพิจารณาสินเชื่อมากขึ้น
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอลง ตามการใช้จ่ายหมวดบริการของผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ประกอบกับการบริโภคสินค้าคงทนหดตัวต่อเนื่อง ตามกําลังซื้อที่ยังไม่เข้มแข็งอย่างไรก็ดี
การบริโภคสินค้าในชีวิตประจําวันยังขยายตัวได้บ้าง สําหรับภาคบริการด้านการท่องเที่ยว ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยจํานวนผู้เยี่ยมเยือนชะลอลงทั้งนักท่องเที่ยวและนักทัศนาจรจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19เป็นสําคัญ ส่งผลให้รายได้ภาคบริการสาขาโรงแรมและภัตตาคารหดตัวสอดคล้องกับอัตราการเข้าพักแรม ที่ลดลง
รายได้เกษตรกร หดตัวมากขึ้น จากผลของภัยแล้ง ที่ทําให้ผลผลิตอ้อยโรงงานลดลงขณะที่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัว ตามราคาข้าวเปลือกเหนียว และอ้อยโรงงาน จากผลผลิตที่ลดลง รวมทั้งราคาปศุสัตว์ที่ขยายตัว จากสุกร ไก่เนื้อและโคเนื้อ ตามความต้องการบริโภคการใช้จ่ายภาครัฐ หดตัวต่อเนื่อง ทั้งรายจ่ายประจําและรายจ่ายลงทุน จากความล้าช้าของพ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 โดยรายจ่ายประจําหดตัวในหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปของสํานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และรายจ่ายลงทุนหดตัวในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างของกรมชลประทาน กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท
การลงทุนภาคเอกชน หดตัวต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนก่อสร้างและเครื่องจักรอุปกรณ์ตามภาวะการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัว และการส่งออกที่ยังหดตัว ทําให้การนําเข้าสินค้าทุนหดตัว โดยเฉพาะการนําเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคม อุปกรณ์ปั่นจั่นตอกเสาเข็มและเครน การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวมากขึ้น ตามการหดตัวในทุกอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หดตัวตามการส่งออกการผลิตแปรรูปเกษตร โดยเฉพาะการผลิตน้ําตาลทราย หดตัวจากปริมาณอ้อยเข้าหีบที่ลดลงจากภัยแล้ง และการผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หดตัว ตามการย้ายฐานการผลิตบางส่วนของผู้ประกอบการเพื่อบริหารจัดการต้นทุน
มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากร ยังคงหดตัว จากการส่งออกเป็นสําคัญ โดยการส่งออกหดตัวใน หมวดผลไม้ที่ส่งไปยังเวียดนามและจีนตอนใต้จากคําสั่งซื้อที่ลดลง และปัญหาการขนส่งไปจีนจากมาตรการจํากัดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19ขณะที่การนําเข้ากลับมาขยายตัว ทั้งจาก สปป. ลาวและกัมพูชา ตามการนําเข้ามันสําปะหลัง (มันเส้นและหัวมันสด) จากความต้องการใช้ภายในประเทศที่ยังมีต่อเนื่อง และทดแทนผลผลิตในประเทศที่ปรับลดลงจากปัญหาภัยแล้ง ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.16 ลดลงจากเดือนก่อน ตามราคา น้ำมันขายปลีกในประเทศที่ลดลงตามราคาตลาดโลก จากสถานการณ์ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ มากขึ้น ทําให้อุปสงค์การใช้น้ํามันโลกลดลง ประกอบกับราคาอาหารสดชะลอลงตามราคาเนื้อสัตว์ หลังสิ้นสุดเทศกาลตรุษจีน ด้านอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ตามการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่ลดลงในสาขาบริการ การค้า และก่อสร้าง สอดคล้องกับภาคบริการ ด้านการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว และการก่อสร้างที่หดตัวภาคการเงิน ยอดเงินฝากคงค้างของสถาบันการเงินเดือนมกราคม 2563 ชะลอตัวจากเดือนก่อนทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เนื่องจากผู้ฝากเงินมีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น ประกอบกับเงินช่วยเหลือเกษตรกรทยอยลดลง ด้านยอดสินเชื่อคงค้างชะลอตัวจากเดือนก่อน จากสินเชื่อ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นสําคัญ เนื่องจากสถาบันการเงินระมัดระวังการพิจารณาสินเชื่อมากขึ้น.
Comments