top of page
  • Writer's pictureThe Isaander

อีสานเฮ็ดหนัง #2 หนังอีสานบูมยุคแรก

Updated: May 28, 2019


วันที่ 15 พฤษภาคม- 27 มิถุนายน 2562 โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) จะจัดโปรแกรมหนังอีสานให้คนดูฟรี


วันพุธที่ 15 พฤษภาคม เวลา 17.30 น. ราชินีดอกหญ้า

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม เวลา 17.30 น. สิ้นเมษาฝนตกมาปรอยปรอย

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม เวลา 17.30 น. ฮักนะสารคาม

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม เวลา 17.30 น. ฮักมั่น In My Hometown

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน เวลา 13.00 น. มนต์รักแม่น้ำมูล DCP

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน เวลา 15.00 น. ครูบ้านนอก

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน เวลา 17.30 น. เกิดมาลุย

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน เวลา 13.00 น. ทุ่งกุลาร้องไห้

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน เวลา 15.00 น. แหยมยโสธร

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน เวลา 13.00 น. ผู้บ่าวไทบ้าน E-SAN INDY

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน เวลา 15.00 น. ไทบ้านเดอะซีรีส์

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน เวลา 17.30 น. ฅนลูกทุ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน เวลา 17.30 น. ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่


---


อ่าน อีสานเฮ็ดหนัง #1 หนังอีสานมายังไง ได้ที่ https://www.theisaander.com/post/190514isaanmovie1


---


แม้หนังที่สร้างโดยคนอีสานเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนปี 2500 แต่กระแสของหนังอีสานจริงๆ เชื่อว่าเริ่มต้นในยุค 2520 ซึ่งเป็นยุคที่คนอีสานเข้ามาทำงานในกรุงเทพหลายเติบแล้ว


“มนต์รักแม่น้ำมูล”(หอภาพยนตร์จะนำมาฉายในเวลา 13.00 น. 1 มิถุนายน 2562) ที่กำกับโดย พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา สร้างโดย ดวงกมล มหรสพ คือ หนังอีสานเรื่องแรกที่โด่งดัง


“เข้าฉายตรงกับวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2520 หนังเพลงแนวอีสานเรื่องแรกที่ได้เงินล้าน ถึงแม้จะอยู่ในช่วงรัฐระหาร บัตรเข้าชมรอบกลางวัน บ่าย ค่ำ หมดเกลี้ยง แฟนชาวอีสานไม่มีทางเลือก ต้องเสี่ยงกับการติดเคอร์ฟิวไปชมรอบดึก"


"ทำให้แฟนหนังต้องพักค้างจนล้นหน้าโรงหนัง ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองกำลังตึงเครียด ซุมแซงหมู่เฮาชาวอีสานกลับร้องรำทำเพลง ม่วนซื่นโฮแซวกันแบบโต้รุ่งที่หน้าโรงหนัง”


สองย่อหน้าด้านบน พงษ์ศักดิ์ บันทึกได้ไว้ในหนังสือหอมดอกผักกะแญง ซึ่งแสดงถึงความฮิตของ "มนต์รักแม่น้ำมูล" ได้อย่างดี


พุทธพงษ์ อธิบายว่า ถึงแม้จะ เป็นหนังอีสาน แต่มนต์รักแม่น้ำมูลต้องใช้นักแสดงมีชื่อเสียงอย่าง สมบัติ เมทะนี พระเอกอันดับหนึ่งมาเล่น เพราะ ในยุคนั้น หากสายหนัง(ผู้จัดจำหน่ายหนังในแต่ละพื้นที่) จะรับซื้อหนังจากผู้สร้างหน้าใหม่ได้ จำเป็นจะต้องมีดาราดังมาเล่น นั่นเอง


---


พี่วิวเล่าว่า ดวงกมล มหรสพ มีบทบาทสำคัญกับหนังอีสานมาก โดย ปี 2521 สร้างหนังที่เป็นปรากฎการณ์ยิ่งกว่ามนต์รักแม่น้ำมูล คือ “ครูบ้านนอก” ที่กำกับโดย สุรสีห์ ผาธรรม (ผู้อำนวยการสร้าง มนต์รักแม่น้ำมูล ร่วมกับ กมล กุลตังวัฒนา) (หอภาพยนตร์จะนำมาฉายในเวลา 15.00 น. 1 มิถุนายน 2562)


“ครูบ้านนอก เป็นเรื่องที่ปลุกกระแสหนังอีสานเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย ด้วยการนำเสนอสภาพแร้นแค้นของอีสาน สะท้อนสังคมยุคนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ ภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นตามหลังมักหยิบประเด็นเช่นนี้มาเล่าด้วย และถือเป็นหนังที่ทำให้ดวงกมล มหรสพ ได้ทำภาพยนตร์ต่ออีกหลายเรื่องเช่นกัน” พุทธพงษ์ เว้า


หลังความสำเร็จของ มนต์รักแม่น้ำมูล และ ครูบ้านนอก คนที่เคยร่วมงานกับดวงกมลฯ อย่าง พงษ์ศักดิ์ และสุรสีห์ ยังคงทำหนังอีสานของตนเองต่อเนื่อง


ปี 2522 พงษ์ศักดิ์ กลับสู่รากเหง้าของอีสานด้วยการ หยิบนิทานท้องถิ่น อย่าง “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” มาทำเป็นหนัง โดย เพื่อนโปรดักชั่น (หอภาพยนตร์จะนำมาฉายในเวลา 17.30 น. 27 มิถุนายน 2562)


สุรสีห์ ทำ “ราชินีดอกหญ้า” โดย สีบุญเรืองฟิล์ม ปี 2529 (หอภาพยนตร์จะนำมาฉายในเวลา 17.30 น. 15 พฤษภาคม 2562) แต่แทนที่จะเล่าความแร้นแค้นแบบเดิมๆ เขาเลือกที่จะเล่าเรื่อง การต่อสู้ของหมอลำ กับ ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ซึ่งถือว่าเป็น อีกมิติหนึ่งของภาคอีสานในตอนนั้น


ด้าน ดวงกมลฯ เองยังคงทำหนังอีสานต่อเนื่อง ปี 2524 “ทุ่งกุลาร้องไห้” ที่กำกับโดย กฤษณพงษ์ นาคธน (หอภาพยนตร์จะนำมาฉายในเวลา 13.00 น. วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน 2562) ก็ออกฉาย ซึ่งหนังยังคงยึดแนวความสำเร็จแบบเดิมที่ดวงกมลฯ เคยทำ คือ การเล่าชีวิตคนอีสานอันแร้นแค้น สะท้อนภาพสังคม แต่เป็นการลงลึกไปถึงการเล่าเรื่องชนกลุ่มน้อยอย่าง ชาวกุลา หรือตองสู ซึ่งเดินทางค้าขายในที่ราบที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน คือ ทุ่งกุลา


หลังจากนั้นไม่นาน กระแสหนังของ ดวงกมลฯ ก็ค่อยๆซบเซาลง


---


นี่คือตอนที่สองของ สารคดีชุด “อีสานเฮ็ดหนัง” ท่านสามารถติดตามตอนต่อไปได้เร็วๆนี้ที่


www.facebook.com/theisaander และ www.theisaander.com


-


#TheIsaander #Isaan #Isaannews #อีสานเด้อ #อีสาน #ข่าวอีสาน #ดิอีสานเด้อ #หนัง #ภาพยนตร#หนังอีสาน #หน่าฮ่าน #ออนซอนเด #หอภาพยนตร#ดวงกมล #ทุ่งกุลา #ก่องข้าวน้อย #ฆ่าแม่ #ฆ่าของ


99 views0 comments
bottom of page