top of page
  • Writer's pictureThe Isaander

คัม ฟอร์ม ปาว ริเวอร์ (1) ไปหาพ่อใหญ่จิตร ภูมิศักดิ์

โดย : เฮียหมาน

ไม่เชื่ออย่าลบลู่,ขาลือกันมาว่าอย่างนั้นจริง ๆที่ว่าจิตรให้หวยแม่น ว่ากันว่าหลังจากจิตรตายแกก็มาให้หวยชาวบ้านถูกไปหลายคน วัดความแม่นยำได้จากน้ำแดงเครื่องเซ่นที่พอหลงเหลืออยู่เต็มฐานรูปปั้น

“จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักคิดนักเขียน เป็นบทเรียนของกรมป่าใม้”

- “เฮ้ยนั้นมันสืบ นาคเสถียร เว้ยพี่”


ผมกับรุ่นน้องรับส่งมุขกันในรถยนต์ระหว่างการเดินทางไปงานรำลึกครบรอบวันเสียชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนได้ลงไปทำข่าวงานนี้ หลังจากที่ในช่วงก่อนวันที่ 5 พฤษภา ปีก่อนๆหน้านั้น ต้องวนมาเขียนข่าวจริงภูมิศักดิ์มาตลอด แต่ไม่เคยไปดูสถานที่จริงๆให้เห็นกับตาเลยสักครั้ง


หน้าสอง หลังสอง ในรถเก๋งดำสี่ประตู วิ่งตีขนาบข้างเข้าทางกราบซ้ายของเทือกเขาภูพาน เป้าหมายอยู่ที่ ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร สถานที่วายชนของจิตร ภูมิศักดิ์ ออกรถล้อหมุนตั้งแต่ช่วง 6 โมงเย็น แต่กว่าจะไปถึงก็ล่วงเข้าเกือบเที่ยงคืน เพราะแวะเยี่ยมเยือนมิตรสหายที่อำเภอกระนวนอยู่นานสองนาน เจ้าบ้านก็ต้อนรับด้วยสุราโซดาอย่างดี แต่ดีกว่านั้นที่พลขับไม่ได้ร่วมดื่มด้วย ไม่งั้นอาจจะวายชนวันเดียวกับจิตร





ค่ำคืนและอนุสรณ์สถาน


“เชค วาน ทู ทรี เชควัน ทู เชค เชค” เสียงการทดสอบเครื่องเสียงดังมา ณ อนุสรณ์สถานจิตร ภูมิศักดิ์ ทีมงานกำลังเตรียมเวทีสำหรับงานวันรุ่งขึ้น บางส่วนก็นั่งดื่มกินกันตามอัธยาศัย สวนใหญ่เป็นนักศึกษากับอาจารย์ จากราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยที่มีพิพิธภัณฑ์จิตร ภูมิศักดิ์ ผสมกับทีมงานเดียวกับผู้เขียนที่เดินทางมาด้วยกันจากขอนแก่น แต่มากับรถคนละคัน ไม่นับเวทีที่สว่างจากแสงสปอตไลท์เป็นเวิ่งๆ พื้นที่รอบ ๆทั้งหมดถูกทาด้วยความมืด มองไปไม่รู้ว่าเป็นอนุสรณ์สถาน


เมื่อรถยนค์จอดสนิทข้าพเจ้าก็รุดวิ่งตรงผ่าไปความมืดนั้นเข้าไป เพื่อปดซิปกางเกงปล่อยปัสสาวะ กว่าจะรู้ว่าตัวเองได้เยี่ยวลดฐานรูปปั้นจิตภูมิศักดิ์ ก็เมื่อมีผู้ใหญ่บ้านเดินถือไฟฉายสวนเข้ามา บอกให้ทุกตามสบาย แกมาเพียงดูแลความรีบร้อยของเวทีตามหน้าที่เจ้าบ้านที่ดี แล้วผู้ใหญ่บ้านก็เข้าไปที่รูปปั้นจิตรที่ข้าพเจ้าเพิ่งปัสสวะรด พร้อมยกมือไหว้ “งวดนี้ขอแหน่เด้ออาจารย์” แกเอยขอหวยจิตรภูมิศักดิ์ซะงั้น ด้วยแบบกึ่งจริงจังกึ่งขำขัน


ไม่เชื่ออย่าลบลู่,ขาลือกันมาว่าอย่างนั้นจริง ๆที่ว่าจิตรให้หวยแม่น ว่ากันว่าหลังจากจิตรตายแกก็มาให้หวยชาวบ้านถูกไปหลายคน วัดความแม่นยำได้จากน้ำแดงเครื่องเซ่นที่พอหลงเหลืออยู่เต็มฐานรูปปั้น สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ผู้ล่วงลับ เคยเล่าในงานเสวนาว่าสมัยอาจารย์มาที่นี้ครั้งแรก ตอนนั้นยังไม่มีอนุสาวรีย์ เคยเห็นชาวบ้านไหว้เจดีย์ธาตุของจิตร เลยไปถามชาวบ้านได้ความว่า ผีจิตร แกให้หวยแม่น ชาวบ้านเลยชอบเอาบุหรี่กับเบียร์ ดาวแดงก็คือไฮเนเก้นไปไหว้ขอหวยกัน


เท่าที่สืบค้นมาได้ทราบว่าคนแรกที่อ้างว่าได้เลขเด็ดจากจิตรก็คือ เจ้าของที่ดินผืนที่จิตโดนยิงล้มลงแห่งนี้ละ ช่วงหลังจิตรตายได้ไม่กี่ปี แกออกมาตากผ้าที่ชานบ้านแล้วเห็นเงาของคนลางๆ ยืนอยู่กลางทุ่งนาจุดที่จิตรตาย แล้วชูนิ้วใบ้เลขเอาดื้อ ๆ กลางวันแสก ๆ



จิตรเฟสติวัล


ในตอนเช้าเสียงดนตรีคึกโคม อื้ออึงมาถึงโรงเรียนบ้านหนองกุงที่ข้าพเจ้ากับเพื่อนๆนอนอยู่ ปลุกให้ข้าพเจ้าและชาวคณะตื่นเช้าอย่างผิดวิสัยของคนที่เพิ่งผ่านการดื่มกินจนฟ้าสางๆ เราเดินผ่ากลางหมู่บ้านที่ดูจะคึกคักเป็นพิเศษ รถราควักไขว้มุ่งไปสู่อนุสรณ์สถานจิตรภูมิศักดิ์ การจราจรติดขัดปริมาณรถล้นมาถึงปากทางเข้า


งานรำลึกจิตรให้ภาพเหมือนกันงานบุญประจำปีหมู่บ้าน แนวๆฝั่งงานลูกนิมิตอะไรประมาณนั้น ผู้คนหนาแน่น มีตั้งแต่กลุ่มแก๊งขับแมงกะไซ มาพร้อมเสื้อยืดเช เกวารา คล้องด้วยผ้าเขาม้า ไปจนถึงวัยรุ่นแต่งตัวทันสมัยถือไม้เซฟฟี่ ระหว่างทางสู่อนุสาวรีย์เต็มไปด้วยแผงขายของ ทั้งสินค้าขึ้นชื่อในชุมชน อาหารการกิน ซีดีรวมเพลงเพื่อชีวิต ตะกุกของขัง เสื้อยืดนักปฏิวัติ

พิธีเริ่มด้วยการแจกทุนนักเรียนในท้องถิ่น พิธีพราหมณ์ จุดธูปเซ่นไว้อะไรเทือกนั้น จากนั้นก็ทอดยาวไปด้วยการบรรเลงดนตรีหนักไปทางเพื่อชีวิต ขาดไม่ได้คือเบียร์และสุรา ที่ตั้งวงกันตามพุ่มไม้ ร่มอาคาร กำแพงสลักดาวแดงเขียนกวีของจิตร มีกลุ่มวัยรุ่นเรียงแถวต่อคิวกันถ่ายรูปไม่ขาดสาย สมัยที่มีชีวิตไม่รู้ว่างานวันเกิดจิตรจะมีมิตรสหายมาแสดงความยินดีมากน้อยเพียงใด แต่วันตายของเค้าบอกได้เลยว่าคับคลั่ง


ข้าพเจ้าผละออกมาจากงานเพราะทนความความร้อนอบอ้าวไม่ไหว ความร้อนทั้งจากการแผดเผาของแสงแดด และจากสุราในท้องที่มิตรสหายรินให้ยก แล้วคิดว่าไม่มีอะไรในงานที่น่าสนใจ ลัดเลาะเรียบ ๆริมถนนลาดยางผ่ากลางหมู่บ้าน แวะพูดคุยสัมภาษณ์ชาวบ้านรายทางพอให้มีชิ้นงานไปส่งออฟฟิศเมื่อกลับไปที่ขอนแก่น


แวะกินก๋วยเตี๋ยวไปหนึ่งชาม แม่ค้าบอกว่าวันนี้เป็นวันขายดีที่สุด พร้อมชี้ไปยังหลักฐานคือจานไม่ได้ล้างกองพะเนิน เดินจนมาถึงวัดบ้านหนองกุง สถานที่เก็บอัฐิธาตุของจิตรภูมิศักดิ์ ไม่ได้ตั้งใจมาไหว้อัฐิ หรือมาหาเลขเด็ดงวดหน้า แต่ไหน ๆก็มาแล้วขอดูจุดก่อเกิดที่ทำให้จิตรกลายเป็นบุคคลสำคัญของท้องถิ่น จนมีงานเฉลิมฉลองใหญ่โตถึงเพียงนี้



การก่อเกิดทั้ง 2 ครั้ง

เคร็ก เจ. เรย์โนลด์ นักประวัติศาสตร์และเอเชียศึกษาชาวอเมริกา เคยบอกว่าจิตรนั้นกำเนิดขึ้น 2 ครั้ง คือการกำเนิดออกมาเป็นมนุษย์ในปี 2473 เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศ แล้วมาโดนยิงตายที่ตำบลคำบ่อ ปี 2509


ครั้งที่ 2 หมายถึงกับการกับมามีชื่อเสียง ช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 หลังจากที่จิตรตายไปแล้วกว่า 6-7 มีการนำผลงานของจิตมารวบรวมตีพิมพ์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ‘โฉมหน้าศักดินาไทย’ ในนามปากกา ‘สมสมัย ศรีศูทรพรรณ’ หรือ ‘ศิลปะเพื่อชีวิต’ ในนามปากกา ทีปกร


แม้ตัวจะตายไปแล้ว 6-7 ปี ด้วยบรรยากาศการเมืองที่เปิดกว้างในช่วงนั้นทำให้คนเริ่มสืบค้นผลงานอื่น ๆ ในนามปากกาต่าง ๆของจิตรมาศึกษา ทำให้จิ๊กซอว์ประวัติชีวิตของจิตรได้ถูกต่อขึ้น ให้มีชื่อเสียงอย่างมากในหมู่นักศึกษาปัญหาชนในช่วงนั้น กลายเป็นฮีโร่ของนักศึกษาหัวก้าวหน้า ตอนที่มีชีวิตจิตรพอจะมีชื่อเสียงอยู่บ้าง แต่เทียบไม่ได้กลับหลัง 14 ตุลาคม ที่ก่อกำเนิดใหม่ให้ผลงานของเขาส่งผ่านมาถึงปัจจุบัน

เคร็ก เจ. เรย์โนลด์ น่าจะไม่เคยมาเยือนตำบลคำบ่อ เลยไม่มีโอกาสได้เห็นก่อกำเนิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในเวอร์ชั่นที่ต่างออกไป ไม่ใช่นักวิชาการปัญญาชน หรือฮีโร่วีรบุรุษฝ่ายซ้ายหัวก้าวหน้า แต่เป็นในฐานะอะไรสักอย่างที่ชาวบ้านมาขอหวย จัดมโหรสพยิ่งใหญ่รำลึกวันเสียชีวิต ‘ภูไทคำบ่อ งามละออผ้าไหม น้ำตกใสแม่คำดี ม้วยชีวีจิตรภูมิศักดิ์' คำขวัญประจำตำบลคำบ่อที่ยืนยันการก่อกำเนิดครั้งใหม่


การก่อกำเนิดครั้งที่ 3 ณ ตำบลคำบ่อ


หลังจากเข้าร่วมขบวนการปฏิวัติกับพรรคคอมิวนิสต์แห่งประเทศ ทำงานมวลชนในพื้นแถบภูพานแห่งนี้ จิตรมาถูกยิง เสียชีวิตอยู่ที่ชายป่าบ้านหนองกุง ด้วยฝีมือของกำนันแหลม เจ้าของฉายาสี่ขั้นพันดาว และเหล่าอาสาสมัครรักษาดินแดน 5พฤษภาคม จิตรดับสูญลง ณ บ้านหนองกุงในฐานะผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ศัตรูของรัฐไทย ไม่ใช่ฐานะปัญญาชนคนสำคัญแต่อย่างใด ส่วนกำนันแหลมได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลากว่าสองเดือน ไม่แน่ชัดว่าเป็นผลมาจากวีรกรรมในการสังหารจิตรหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆผลงานที่โดดเด่น ๆของเขา คือการเป็นหัวเรือสำคัญในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ ทำให้ตำบลคำบ่อเป็นพื้นที่สีขาวปราศจากภัยสีแดงจากคอมมิวนิสต์ ต่างจากหลายตำบลรอบ ๆ ภูพานไปกลายเป็นพื้นที่สีแดงตาม ๆกัน



หลังสงครามเย็นเริ่มสงบ สหายคอมมิวนิสต์ออกจากป่า ความขัดแย้งเริ่มขี่คลายนำพาโลกไปสู่สิ่งใหม่ ก็เริ่มมีคนต่างถิ่นหลั่งไหลเข้าพื้นที่แถบนี้ เพื่อตามรอยจิตรภูมิศักดิ์ ราวปี 2530 มีกลุ่มสายธารวรรณกรรมจากจังหวัดยโสธร ได้เข้าตามมารอยจิตรภูมิศักดิ์ โดยการเข้าหาพระมหาพงษ์สุริยา เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองกุงในตอนนั้น ที่เมื่อได้ฟังเรื่องราวของจิตรก็เกิดความสนใจ จนในปีต่อ ๆมาทางกลุ่มร่วมกับทางวัดจัดพระป่าสามัคคีในชื่อจิตร โดยมีท่านเจ้าอาวาสเป็นตัวเชื่อมเรื่องราวของจิตรภูมิศักดิ์ระหว่างคนภายกับชาวบ้าน ในปีต่อ ๆ ภิรมย์ ภูมิศักดิ์พี่สาวของจิตรได้เข้ามาซื้อที่ดินจุดที่เสียชีวิต และได้ขุดกระดูกของจิตรมาบรรจุในเจดีย์ จากนั้นก็มีการทำบุญให้กับจิตรในทุก ๆไป จนเกิดจัดงานรำลึกการเสียชีวิตขึ้นครั้งแรกในปี 2543

ถึงเวลานั้นจิตรไม่ใช่คนแปลกหน้าของคำบ่ออีกต่อไป ต่างจากกำนันแหลมที่ต้องคอยหลบหน้าหลบตาผู้คนไปอยู่บ้านญาติที่อีกหมู่บ้าน ทุกครั้งที่มีงานรำลึกจิตรภูมิศักดิ์ เพราะมักมีคนจากต่างแดนวนเวียนมาที่บ้านด้วยความอยากเห็นผู้สั่งปลิดจิตร ในงานรำลึกช่วงแรก ๆส่วนใหญ่เป็นการมาร่วมงานของคนจากต่างถิ่น ที่เดินทางมาจากกรุงเทพและทั่วสารทิศ

จน 3-4 ปีให้หลังทางจังหวัดสกลนครเริ่มเห็นประโยชน์ของงานรำลึก ได้มีการอนุมัติงบสร้างอนุสาวรีย์ ทางเดิน ห้องน้ำ ในจุดจิตรเสียชีวิตที่คุณภิรมย์ซื้อที่ดินมา และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นก็ได้เข้ามาเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานรำลึก ดึงเอาชาวบ้านในพื้นที่มาร่วมเป็นเจ้าภาพ กลายเป็นงานเทศกาลสำคัญของตำบลเหมือนอย่างทุกวัน




งานรำลึกของทุกคน


นึกถึงเมื่อหลายๆปีก่อนได้โอกาสไปงานรำลึกจิตร ภูมิศักดิ์ ที่จัดขึ้นในตามมหาวิทยาลัยในกรุงเทพหลายครั้ง ส่วนมากจะเป็นวงวิชาการที่หยิบผลงานของเขามาถึกเถียง โดยนักวิชาการแถวหน้าของประเทศ เมื่อเดินกลับจากวัดมายังงาน ในช่วงบ่ายแก่ๆแดดเริ่มร่มลมเริ่มตก แผงขายของเริ่มถยอยพับเก็บ ผู้คนไหลมาอัดแน่นอยู่ที่ลานตรงกลางหน้าเวที ที่ถูกเปลี่ยนไปเป็นฟลอร์เต้นลำ-ฮ้านหมอลำ ให้ผู้คนจากหลากถิ่นที่มาโยกไปกับจังหวะดนตรี ปะปนจนแยกไม่ออกว่าเป็นคนท้องถิ่นหรือผู้มาเยือน ดนตรีละลายกลุ่มผู้เข้าร่วมงาน จากที่นั่งแยกกันเป็นกลุ่มให้ขยับเข้าด้วยกัน ส่วนผู้เขียนเดิน ดุ่มๆไปหลังเวทีหาเบียร์ฟรีเย็นๆดื่ม เหล้าคงไม่ไหวอาการร้อนเหลือเกิน คิดในในว่านี้มันวู้ดสต๊อกเวอร์ชั่นภูพานชัด ๆ

ตำแหน่ง-แห่งหน

เมื่องานจบผู้เขียนต้องช่วยเก็บข้าวของเครื่องดนตรี ขนเอาไปไว้ที่บ้านอาจารย์ราชภัฏสกลนครท่านหนึ่ง ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยที่ใช้เป็นเมื่อชุมนุมให้นักศึกษาใช้ทำกิจกรรมไปด้วย


หลังจากการใช้แรงงานเสร็จสิ้นลงก็เข้าจังหวะเดิม คือเปิดเบียร์นั่งกินกันต่อ เรื่องเขียนข่าวเอาไว้พรุ้งนี้แล้วกัน ยิ่งดึกยิ่งดำลึกสู่สภาวะของความเมามาย “เป็นแบบนี้รอบหน้าผมไม่มา” รุ่นน้องที่มาด้วยกันจากขอนแก่นกร้าวขึ้นกลางวง “ไม่มีใครพูดถึงงานของจิตรเลย” มันบอกถึงความผิดหวังจากการได้มางานรำลึกจิตร ที่ไม่มีใครพูดถึงแนวคิด หรือผลงานของจิตรเลย แถมยังประกอบพิธีพราหมณ์ ให้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปอีก


อาจารย์เจ้าของบ้านก็แย้งว่าจะให้อยู่ดีดีมาจัดงานเสวนาในงานเลยมันก็ยาก อย่างพื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่สีขาวเป็นหมู่ที่คร่าชีวิตจิตร ต้องค่อยๆเป็นค่อยไป จากการก็โต้เถียงกันยาว ๆ ไปทั้งคืนเป็นคำถามที่สิ่งข้าพเจ้าคุ้นคิดมาตลอดการเดินทาง ชาวบ้านมองจิตรในฐานะอะไร?


แน่ๆ ว่าคงไม่ใช่แบบเดียวกับปัญญาชนมองจิตร ผู้เขียนไม่มีคำตอบ แต่ส่วนตัวก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าชาวบ้านจะไม่ได้มองจิตรเป็นนักคิดนักเขียน หรือมองจิตรเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สักอย่าง ส่วนอีกคำถามคือแล้วตัวข้าพเจ้าเองมองจิตรในฐานะอะไร? อันนี้มีคำตอบ


รุ่งเช้าเราโบกมือลาอาจารย์และน้องๆจากราชภัฏสกลนคร ที่ดูแลเราอย่างดี แม้เถียงกันยาวแต่ก็ไม่ได้ติดใจเบาะแว้งกัน ขากลับผมนั่งรถกระบะของนักกิจกรรมผิวเข้มชาวใต้ผู้หนึ่ง แกเล่าให้ฟังว่ากระบะคันนี้นักข่าวจากประชาไท ขอติดรถไปทำข่าวการแจกใบปลิวรณรงค์ประชามติ ถูกจับนอนคุกไป 2 คืน พอฟังแล้วผู้เขียนก็พนมมือเหนือหัว “พ่อใหญ่จิตรช่วยลูกด้วย”



#จิตรภูมิศักดิ์ #ดิอิสานเด้อ



423 views1 comment
bottom of page