top of page
  • Writer's pictureThe Isaander

สามีภารรยาคนพิการหลังอานมอเตอร์ไซค์ชอปเปอร์

Photo story :


1



2

3


4



5



6



7



8



“ คนพิการสองคนไปอยู่ด้วยกัน มันจะรอดไหม พ่อไม่เห็นด้วยเลยตอนแรก จะดูแลกันได้อย่างไร "

“แต่ โต้ง เขาไม่ยอม  ไปหาทุกเช้า เย็น ขับรถมอเตอร์ไซร์มาหา ไปรับไปส่ง ไกลนะ บ้านพี่ไปกลับเกิน100 กิโล   จนพ่อใจอ่อน  ก็มาถามเราว่าแล้วแต่นะ เลือกเอา เราเลยตัดสิ้นใจว่า จะลองเลือกทางนี้ดู ถ้ามีคู่แล้วมันจะไปไม่รอดเราก็เลือกทำใจรับมัน “

“ก่อนหน้านี้ เขา(โต้ง) เป็นคนชอบสังสรรค์ กินเหล้าบ่อย อยู่กับเพื่อนเยอะ เราก็บอกว่าถ้าจะแต่งงานกัน ก็ต้องลดพวกนี้ลง ให้ความสำคัญกับครอบครัวมากขึ้น เขาก็ปรับตัว จนเราก็ยอมรับในความพยายามของเขา ก็ตกลงปลงใจแต่งงานกัน” 

“รู้สึกน้อยใจนะตอนนั้น เรารู้สึกว่า ทำไมถึงเป็นเราคนเดียว เราพิการคนเดียวหรอ ทำไมถึงเกิดมาเป็นแบบนี้ ไม่กล้าออกไปไหนเลย บ้านใกล้ๆยังไม่ไปเลย เก็บตัวอยู่บ้าน รู้สึกอาย น้อยใจด้วย” 

“จำความได้ว่ามีชีวิตเหมือนเด็กทั่วไป พอถึง 3 ขวบ พี่ไม่สบาย เป็นไข้ พ่อเลยพาไปหาหมอ แล้วได้ฉีดยา  หลังจากนั้นมาขาก็อ่อนแรง เหมือนว่าฉีดยาผิด หมอก็เป็นหมอเถือน หมอชาวบ้าน เพราะแถวนั้นอยู่ห่างไกลเมืองมาก ก็ใช้ชีวิตแบบนั้นมา เดินแบบขาไม่ดีมาตลอด  “

"เรารู้สึกว่าตอนเริ่มเรียนประถม ทุกคนมองเราเป็นตัวประหลาด เพื่อนมาล้อเลียนเราตลอด รู้สึกโมโห รู้สึกน้อยใจ ที่เพื่อนเอาปมด้อยมาล้อเลียน พ่อแม่ก็เลยไม่อยากให้ออกจากบ้านเพราะทนเห็นลูกถูกล้อเลียนไม่ได้ กลัวลูกรู้สึกไม่ดี “

“หลังจากจบ ป.6 ก็ไม่ไปไหนเลย เก็บตัวอยู่บ้านจนถึงอายุ 32 ปี เลยได้รู้ว่า คนพิการ เขามีกองทุนให้กู้ยืม มีงานให้ทำ เลยออกมาจากบ้าน กะว่าจะมาหาวิธีทำงาน หาเงิน เราก็ไม่อยากขอพ่อขอแม่ตลอดเวลา ถ้าเราสามารถทำอะไรได้ก็จะทำ เลยกล้าตัดสินใจออกมาจากบ้าน” 

“ตอนปี 2553  พอเราออกมาจากที่เดิมแล้ว เราพบเลยว่า คนพิการก็มีที่ทางของมัน มีงานให้ทำ มีกองทุนให้กู้ยืมไปประกอบอาชีพ  ได้รู้ว่าผู้พิการมีสิทธิได้รับ กายอุปกรณ์ ก่อนหน้านี้พี่ไม่มีที่ดามขาเลย พอเรารู้ว่าเรามีสิทธิตามบัตรทอง ท.74  สามารถขอได้ เราเลยไปขอตามสิทธิ เลยมีร้องเท้าดามขาใช้” 

“ เรื่องสิทธิคนพิการ มันมีหลายข้อ กฏหมายหลายตัว ถ้ามองในแง่ของคนพิการ มันยากจะเขาถึงนะ  ถ้าไมมีคนชี้นำ หลังจากตั้งสมาคมคนพิการกับเพือนๆในจังหวัดแล้ว ก็ออกไปหาผู้พิการที่อยู่ตามหมู่บ้าน ในที่ที่ห่างไกล  จังหวัดหนองบัวลำภู ยังถือว่าเป็นจังหวัดชนบท คนพิการยังไม่ได้รับการเหลียวแลเท่าที่ควร

“ วันหยุด เสาร์ - อาทิตย์ เราต้องออกไปหาเพื่อนคนพิการ  ไปปรับความคิดของเขา ไปให้กำลังใจเขา แนะนำสิทธิ์ต่าง ๆ ของเขา ถ้าเราไม่ไปช่วยเขา เขาก็จะไม่รู้เรื่องเลย ” 

.

.

“ อยู่ได้ทุกวันนี้ อยู่ได้เพราะดนตรีนะ ผมชอบร้องเพลงมาก ชอบแต่งเพลง เล่นกีตาร์ มันคือความฝันของผม  ถ้าไม่ได้ไปทำอะไรผมก็จะไปเปิดหมวกเล่นกีตาร์ร้องเพลงที่เชียงคาน รู้สึกว่ามันสุนก ได้ทำตามความฝันตัวเอง ” 

“ กลางเดือนพฤศจิกายน มีงานงิ้วในตัวจังหวัด ผมเลยติดรถมอเตอร์ไซต์ไปเที่ยวกับเพื่อน ตอนกลับผมเมามาก จำอะไรไม่ได้  มอเตอร์ไซต์เสียหลัก เพื่อนทั้งสองคน คนขับและคนซ้อน เสียชีวิตคาที่ ส่วนผม นั่งตรงกลาง บริเวณสะโพกไปกระแทกกับหิน “

“อายุ 17 ปี ตอนนั้น พอออกจากโรงพยาบาลแล้วต้องมาเรียนรู้ใหม่หมด คือเราพิการแล้วนะ รู้แล้วว่าเดินไม่ได้ เราไม่ได้รู้สึกว่าเสียใจมากนะ แต่เราก็คิดว่าจะทำอย่างไร จะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร ในภาวะเช่นนี้ มองไปดูเตียงข้างๆ คนเขาขาขาด ก็บอกให้หมอฉีดยาตายให้ แต่ผมไม่คิดแบบนั้นนะ คิดเสียว่าเราพลาดแล้ว เราจะอยู่อย่างไรกับมันต่อแค่นั้น”

“ได้ไปโครงการหนึ่งที่ให้ผู้พิการได้ไปเรียนรู้ การปรับปรุงจิตใจ เรียนรู้จากข้างใน เปลี่ยนแปลงความคิดเรา ทำให้เราได้เปิดโลกกว้างขึ้น ได้เข้าไปอยู่ในสังคม ก็เจอคนพิการมากขึ้น ทำให้รู้ว่าโลกข้างนอกมันกว้างนะ” 

“เจอกันตอนออกไปทำกิจกรรมต่างๆ ของชมรมคนพิการ ประทับใจเขาเรื่องความช่วยเหลือคนอื่น เขาเป้นคนชอบช่วยคน เราออกพื้นที่ไปหาเพื่อนคนพิการด้วยกันบ่อย มันก็เลยเกิดความสัมพันธ์กัน” 

“ไม่เคยมองว่าถ้าคบกันแล้วจะเป้นอุปสรรคนะ มองว่ามันจะช่วยเหลือกันได้ อยู่ด้วยกัน ช่วยกันสร้าง ก็เห็นแรก ๆ ก็มีคนพูดว่าจะไปรอดไหม แต่นานไป ก็เห็นแต่คนพูดว่า ขนาดมันพิการ มันยังมีเมีย มีครอบครัวได้เลย” 

“นอกเหนือจากงานที่ทำอยู่เป็นช่าง ในคลีนิคคนพิการหนองบัวลำภูแล้ว ก็มีงานอาสา ออกชุมชน เข้าไปหาผู้พิการ ให้กำลังใจเขา เราก็ได้เรียนรู้อะไรจากเขาเพิ่ม” 

“คนพิการในชนบทนี้เหมือนไม่ได้รับการดูแลเลย ตามที่ไปเห็นมา ที่อยู่อาศัยลำบากมาก ห้องน้ำ พื้นที่บ้านไม่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตเลย อีกเรื่องคือเรื่องกายอุปกรณ์ เจอชาวบ้านเอาไม้มาทำล้อรถเข็น เราเห็นแล้วก็หดหู่ เราก็ไปช่วย ซึ่งจริงแล้วมีคลีนิคมนุษย์ล้อช่วยเหลือให้มีกายอปุกรณ์ใช้” 

“เราออกมาทำงานแบบนี้ สิ่งที่ได้เห็นคือรอยยิ้ม ผมเคยเป็น ไม่มีใครเขาใจคนพิการเท่ากับคนพิการ จะให้หมอ ให้ อสม. มาเยี่ยมก็คุยคนละภาษากัน เให้เขาได้เปิดตัวเอง ไม่ให้เขาโดดเดียว ยิ่งคนพิการในชนบท ไม่สามรถรับรู้ข่าวสารแล้ว เหมือนเขาไม่มีตัวตน เป็นภาระคน อีกอย่างคือได้บำบัดตัวเองด้วย ได้แชร์ความรู้สึก ได้มิตรภาพ ได้ความสุขที่หาชื้อไม่ได้ ได้คำว่ามนุษย์ของเราคืนมา” 

.

.

โต้ง - วิไล

 สามีภารรยาคนพิการหลังอานมอเตอร์ไซค์ชอปเปอร์  

..

บทสัมภาษณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน  เคล้าคลอด้วยเสียงหวีดจากก้านข้าวผ่านปากของพี่โต้ง และคำชักชวนกินข้าวข้างคันแถนา 

 .

.

69 views0 comments

留言


bottom of page