The Isaander Mar 6, 20203 min readI am Ploy:คุยเรื่องเหมืองวังสะพุงเปลี่ยนชีวิต สารพิษไซยาไนด์และกฎหมายฟ้องปิดปาก Updated: Mar 6, 2020บ่ายสองกว่าๆรถทัวร์ปรับอากาศจากจังหวัดขอนแก่น เทียบท่าบขส.วังสะพุง แดดบ่ายฉายอาบเกรียมจนรู้สึกร้อนรุ่มตั้งแต่รถวิ่งผ่านผานกเค้า อำเภอภูกระดึง ราวกับได้ยินการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เราเดินทางมาที่นี่ตามคำชักชวนของช่างภาพReal Frame เพื่อสำรวจตรวจตรา วิถีชุมชนชิดเหมืองทองคำ ในวันที่พวกเขากำลังเข้าร่วมเวิร์กชอปการถ่ายภาพเพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สื่อสารเรื่องราวต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่ปนมากับคราบน้ำตาในแบบฉบับคนรักษ์บ้านเกิดตลอดสิบกว่าปี“I am Ploy (ไอ แอม พลอย)” วันเพ็ญ คุณนา Photo : Yostorn Triyos/ Realframe“ลำน้ำฮวย แหล่งน้ำสาธารณะใน ตำบลเขาหลวง ไม่สามารถนำมาอุปโภคบริโภค เพราะ...”(ส่วนหนึ่งจากข้อความรายงานข่าวไทยพีบีเอส ออกอากาศ 1 กันยายน 2558 ตอน “นักสืบลำน้ำฮวย แทัๆแน๊ว”)ไม่ต้องดูการ์ตูนโคนันยอดนักสืบ หรือท่องสูตรตารางเคมีกวดวิชาอาจารยอุ๊ พลอย วันเพ็ญ คุณนา ก็รู้จักความร้ายแรงของสารพิษไซยาไนด์ตั้งแต่เยาว์วัย นั่นเพราะหมู่บ้านภูทับฟ้า บ้านเกิดเธอเป็น 1 ใน 6 หมู่บ้าน ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ พลอยเกิดปี 2542 เรียนชั้นประถมที่โรงเรียนชุมชนวังสะพุง ก่อนเข้าเรียนชั้นม.1-ม.6 ที่โรงเรียนศรีสงคราม ปี 2558 เธอเป็นที่รู้จักผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อไทยพีบีเอสเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ชาวบ้านได้รับจากสารปนเปื้อนที่มาจากเหมืองทองคำThe Isaander: ตั้งแต่ปี 2549 ที่เหมืองเริ่มกิจการ เราเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรของที่นี่บ้าง?พลอย: บ้านพลอยอ่ะ มันจะเป็นลำห้วย เป็นแหล่งหาอาหารของทั้ง 6 หมู่บ้าน ที่คนต้องมาหาปูหาปลาหรือมาเก็บผัก เช่นเก็บผักบุ้งไปผัดกินบ้างประมาณนี้ พอเขาเห็นเราจะเล่นน้ำ ผู้ใหญ่ก็ห้าม ห้ามนะมันมีสารพิษ ลงไปแล้วมันจะคัน มันจะเป็นผื่น แล้วก็เราไม่ฟัง ก็ยังคงเล่นเรื่อยมาจนถึง ป.4 ป.5 เลยนะ เราก็เล่นไปThe Isaander: แสดงว่ามีบ้างที่รู้ถึงผลกระทบเหมือง แต่ยังใช้ชีวิตปกติ?พลอย: เพราะว่าน้ำเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเขา แล้วอีกอย่างที่นาเขาก็อยู่ติดน้ำ ก็ต้องใช้น้ำทำมากิน ทำไร่ทำนาก็คือเป็นวิถีชีวิตของเขาไปแล้ว พอสักพัก พลอยเริ่มมีเพื่อนเป็นผื่น เพราะสารจะสะสมในร่างกายไปเรื่อยๆ คือไม่ได้เห็นผลโดยตรงเลย และอีกอย่างหลังปี 2549 เหมืองเริ่มกิจการได้ไม่นาน พลอยเริ่มสังเกตเห็นว่าน้ำเริ่มเปลี่ยนสี เป็นสีดำๆและมีกลิ่น มีปลาตายด้วย ลักษณะปลาขาดออกซิเจนในน้ำ ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็ไม่กล้าเล่นน้ำอีกเลยThe Isaander: พอโตขึ้นมาทราบไหมว่าสารเหล่านั้นที่อยู่ในน้ำ ชื่ออะไรบ้าง?พลอย: ก็พวกสารไซยาไนด์ สารหนู ตะกั่ว คือสารไซยาไนด์ เป็นชื่อแรกที่ได้ยิน ประมาณตอน ป.2 เคยได้ขึ้นไปเหมือง เพราะว่าคนงานเหมืองเข้ามาในหมู่บ้าน เขามาบอกเล่าว่าจะมาสอนภาษาอังกฤษให้ แล้วก็เลยชวนเพื่อนในหมู่บ้านไป เขาก็จัดรถมารับมาส่ง มีเพื่อนประมาณ 7-8 คนที่ไปด้วยกัน พอเขามารับเราไป พอขึ้นไปเหมือง เขาไม่ได้สอนอะไรเลยนะ แต่เขาเปิดวีดีทัศน์ให้ชม แล้วก็บอกว่า มันจะมีสารไซยาไนไนไนด์ตรงไหนบ้างประมาณนั้น แล้วสารไซยาไนด์ก็เป็นสารชื่อแรกที่เราได้ยินThe Isaander: ตอนนั้นคิดว่าดีหรือไม่ดี จากที่เขาได้บอกเรา?พลอย: เราก็รู้สึกเฉยๆ เพราะด้วยความเป็นเด็ก เราไม่ได้แบบรู้ว่ามันมีผลดี ผลเสียอย่างไรกับเราหรือกับสิ่งแวดล้อม ก็แค่รู้ว่ามันเป็นความรู้เฉยๆว่ามันคือชื่อนี้ (สารไซยาไนด์) แต่ พอโตขึ้นก็เริ่มทราบว่าสารไซยาไนด์มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่นน้ำ ซึ่งมันจะเข้าสู่ร่างกายแล้วเกิดเจ็บป่วยประมาณนั้นแต่ถึงแม้ว่าเรารู้ว่ามันเกิดผลกระทบยังไง เราก็ยังไม่ได้ใส่ใจนะ ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าชาวบ้านเริ่มตั้งกลุ่มศึกษาผลกระทบ จนมาช่วง ม.2 ที่รู้ว่ามีกลุ่มเข้ามา“I am Ploy (ไอ แอม พลอย)” วันเพ็ญ คุณนา Photo : Yostorn Triyos/ RealframeThe Isaander: นอกจากพลอยแล้วมีคนสนใจปัญหาเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน หรือในมุมมองของพลอยทำไมเรื่องนี้มันถึงสำคัญ ?พลอย: เพราะเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกคนที่ใช้พื้นที่ป่าแถวนั้น พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อย่างเช่น ข้างบ่อเก็บกัก จะเป็นต้นน้ำห้วยเหล็ก แหล่งหาอาหารชั้นดีของ 6 หมู่บ้านที่เขาหาอาหาร คือถ้าเราไม่เอาเรื่องสิ่งแวดล้อมขึ้นมาพูดแล้วเราจะเอาเรื่องไหน เพราะสิ่งแวดล้อมมันเป็นเรื่องหลักที่เราจะต้องมาให้ความสนใจกับมัน ถ้าสิ่งแวดล้อม เช่นน้ำหายไป แล้วเราจะใช้น้ำที่ไหนในการทำการเกษตร หรือการหาอาหาร พลอยมองว่าการกินเป็นการอยู่รอดของมนุษย์ ถ้าเราไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ เราก็ไม่สามารถที่จะเดินหน้าต่อไปได้ เราจึงเอาเรื่องสิ่งแวดล้อมขึ้นมาพูดThe Isaander: ช่วง ม.4การที่เด็กคนหนึ่งจะออกไปพูดปัญหาเรื่องพวกนี้ จู่ๆเราเดินไปให้สัมภาษณ์นักข่าวเลยไหมครับว่ามันเกิดอะไรขึ้นตอนนั้น?พลอย: มันเกิดจากความบังเอิญมากกว่า ด้วยความที่ว่าวันนั้น เราเป็นคนไปค่าย แล้วเราก็เป็นพี่เลี้ยง ค่ายนี้ มันจะมี กลุ่มหนึ่งที่เป็นกลุ่มของ พี่เอ๋ มมส. (ศิริพร ฉายเพ็ชรจากโครงการอาสาสมัครเพื่อสังคม) แล้วก็กลุ่มของคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม มาทำค่ายในชุมชน คือเขาจัดค่ายนี้ขึ้น แล้วเขาก็มาหาพี่เลี้ยงหลายครั้ง ตอนนั้นพลอยยังไม่ได้เข้ากลุ่มคนรักบ้านเกิด พลอยเป็นหลานป้าที่คนในค่ายมาพักด้วย แล้วเราบังเอิญเจอกันพอดี พี่เขาชักชวนว่า อยากลองไปเป็นพี่เลี้ยงค่ายดูไหม เปิดประสบการณ์ใหม่The Isaander: เห็นว่าตอนนั้นยังไม่ได้สนใจอะไรเป็นพิเศษ เลยยังไม่เข้าร่วมค่ายเยาวชน?พลอย: พี่เขาก็ง้ออยู่หลายครั้ง และเหมือนจะไปยื่นหนังสือที่โรงเรียนเพื่อขออนุญาตส่งตัวเราให้เข้าค่ายด้วย เขาก็เลยเห็นเราที่โรงเรียน พี่เขาก็เลยชวนมาคุย พลอยเห็นพี่เขาทำขนาดนี้ก็เลยลองดู เลยตัดสินใจไปกับพี่เขา ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และเราก็ต้องอบรมการเป็นพี่เลี้ยงก่อน ซึ่งพี่เลี้ยงจะเป็นคนที่ทำหน้าที่ในการดำเนินงานเป็นคนดูแลเด็กช่วง ป.1 ขึ้นไปถึงประมาณ ป.6 และก็จะมีนักเรียนมัธยมบ้าง ก็จะมีเด็กเล็กเด็กแดงที่มากับพี่ๆ เพราะพ่อแม่เขาอยากให้มาคลุกคลี เรียนรู้ด้วย ซึ่งเราก็ต้องดูน้อง ช่วยน้องในเรื่องทำงานกลุ่มที่เขาแบ่งให้ ในการแนะนำเขาว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง ฝึกให้เขาคิดประมาณนั้น พอเราได้เข้าไปทำงานในกลุ่ม จะมีช่วงตกเย็นก็จะมีสำนักข่าวของไทยพีบีเอสมา น่าจะเป็นของ นักข่าวพลเมือง มาชักชวนให้สัมภาษณ์The Isaander: เราให้สัมภาษณ์ไปยังไงครับตอนนี้?พลอย: พี่เขาก็ขอสัมภาษณ์ถึงความรู้สึกว่า เป็นอย่างไรบ้าง รู้สึกดีหรือเปล่า ชอบหรือไม่ค่ายนี้ แล้วก็ตะล่อมเราไปเรื่อยๆ จากนั้นให้เล่าเรื่องราวในหมู่บ้านของเรา ว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้าง ซึ่งเราก็เห็นผลกระทบตั้งแต่เด็ก แต่ก็ไม่ได้คำนึงถึงคำพูดด้วยไง ก็พูดไปตามที่เห็นตั้งแต่ ป 2. จนถึง ม.4 ก็พูดไป เป็นต้นว่า ลำน้ำมีสารปนเปื้อนจากน้ำที่มาจากเหมืองแร่อุตสาหกรรม ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไร ซึ่งก็คิดว่ามันถูกต้อง และมันก็เป็นเรื่องจริงแหล่ะที่มีสารปนเปื้อน ก็สัมภาษณ์ไปเรื่อยๆThe Isaander: จนมาถึงจุดเปลี่ยนของชีวิตยังไงเมื่อบทสัมภาษณ์เผยแพร่ออกไป?พลอย: จากนั้น ประมาณหนึ่งอาทิตย์ เขาก็ลงข่าว แล้วมีพี่ที่มาชวนไปค่าย แชร์มาให้ดูว่า “เนี่ย เป็นดาราแล้วนะ” ซึ่ง ดาราข้ามคืนนี่ หมายศาลถึงบ้านเราเลย ซึ่งเป็นดาราได้ประมาณวันหนึ่ง ก็มีหมายศาลถึงบ้านเลยThe Isaander: ตอนนั้นรู้ไหมว่า หมายศาลคืออะไร?พลอย: ไม่รู้ว่า หมายศาลคืออะไร กฎหมายคืออะไรยังไม่รู้ แต่รู้ว่ามีกฎหมายอาญา แล้วก็ไม่รู้ว่าโดนคดีอะไร จนเราได้หมายศาลว่า คดีอาญา และช่วงนั้นเรายังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยเขาจึงยังไปฟ้องเลยไม่ได้ แล้วเราได้หมายศาลมาแล้วยังตั้งคำถามในใจว่า คืออะไรยังไง ซึ่งก็คิดว่า ตอนให้สัมภาษณ์กับพี่นักข่าวตอนนั้นก็แค่พูด แสดงความเห็นที่รู้ ที่เห็นมาตั้งแต่เด็กจนโต แล้วทำไมมาทำกับเราแบบนี้ พอได้หมายศาล ก็มีความรู้สึกหดหู่ เสียใจว่าทำไมได้รับหมายศาลเพราะไปค่ายนั้น ทำไมเราโดนคนเดียว ทั้งที่เพื่อนคนอื่นก็ไปด้วยThe Isaander: ตอนนั้นในฐานะเราเป็นพี่เลี้ยงในค่ายเราอายุน้อยสุดไหมครับพลอย: ใช่ค่ะ คนอื่นก็อายุมากว่าเราเช่นอายุ 17 ปี 18 ปี และก็ข้ามไป 20 ปี ประมาณนั้น แล้วเด็กๆที่มาค่ายก็จะอยู่ ป.1 ป.2 เป็นเด็กในหมู่บ้านแถวนั้นเลยค่ะThe Isaander: ทราบไหมครับว่า ทำไมวันนั้นพี่นักข่าวถึงเลือกมาสัมภาษณ์เราครับ?พลอย: ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ แต่คิดว่าก่อนหน้านี้พี่นักข่าวเล็งสัมภาษณ์รุ่นพี่เราอีกคนไว้ แต่เขาไปเข้าห้องน้ำในเวลานั้น ซึ่งพี่นักข่าวอยากสัมภาษณ์ตอนนั้นด้วย และเรา ก็อยู่ตรงนั้นพอดี ก็เลยถูกสัมภาษณ์โดยปริยาย จนส่งผลให้เกิดคดีขึ้นต่อมาThe Isaander: พอหลังจากได้รับหมายศาล ทางเพื่อน ๆ หรือโรงเรียนว่าอย่างไรบ้างครับ?พลอย: ตอนนั้น ไม่ได้บอกเพื่อนคนอื่นค่ะ ยกเว้นเพื่อนสนิทคนเดียว เพื่อนสนิทคนนั้นก็ด่าพลอย ซึ่งเขาก็ชอบด่าอยู่แล้ว ก็ด่าประมาณว่า “มึงไปทำไม กูบอกแล้วว่าอย่าไป แล้วพลอยก็ตอบกลับว่าก็กูได้ไปแล้ว จะทำยังไงมันย้อนเวลากลับไปได้หรือไง” จากนั้นเพื่อนคนนั้นก็ให้กำลังใจว่า “ เออ สู้ๆนะมึง มึงยังเป็นเด็กเขายังทำอะไรไม่ได้หรอก” มันก็แบบให้กำลังใจตามที่มันให้ได้ ซึ่งมันไม่ได้โดนเองมันไม่รู้หรอกว่ามันเจ็บแค่ไหน“I am Ploy (ไอ แอม พลอย)” วันเพ็ญ คุณนา Photo : Yostorn Triyos/ RealframeThe Isaander: แล้วทางนักข่าวที่สัมภาษณ์เขาติดต่อยังไงมาบ้างครับ?พลอย: พี่เขาส่งข้อความมา เป็นไงบ้าง (หัวเราะ) คือช่วงนั้นก็ชุลมุนมาก คุยกับพี่ๆ จนได้ 3-4 วันที่ข่าวออกไป ที่ว่า เราโดนฟ้อง ก็มีเพื่อนๆโทรมาด่าว่า “มึงยังเป็นเพื่อนกูอยู่ไหม เรื่องใหญ่โตขนาดนี้ ทำไมไม่บอก”The Isaander: เพื่อนๆ รู้จากไหนครับ?พลอย: ในโซเชียลต่างๆ จากข่าวดังๆช่วงนั้นที่เขียนหัวข้อข่าวว่า “เหมืองฟ้องเด็กอายุ 16” ก็มีคนแชร์ทั้งโรงเรียน เดินไปทางไหนคนก็มอง ก็รู้สึกอายค่ะ ก็รู้สึกว่าโดนกดดันทั้งพ่อแม่ ผอ. (ผู้อำนวยการโรงเรียน) ที่โรงเรียนด้วยค่ะ โดนกดดันในเรื่องที่ว่า ให้เราไปขอโทษ ซึ่งผอ.เป็นคนกลาง แต่ คนกลางก็บอกให้เราไปขอโทษว่า เราเป็นเด็กThe Isaander: ตอนนั้นคิดไหมครับว่าเราไปขอโทษทำไม เราทำอะไรผิดครับ?พลอย: ไม่รู้เหมือนกันค่ะ ก็คือว่า ผอ.บอกให้ไปขอโทษเพราะเราเป็นเด็กควรไปขอโทษผู้ใหญ่ แต่ก็ยังสงสัยว่าจะไปขอโทษทำไมเราไม่ได้ทำอะไรผิด ซึ่งมันก็เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ที่เราเห็น เพียงแต่คนภายนอกเขาไม่รับรู้ และเขาก็ไม่เห็นเหมือนที่เราเห็นThe Isaander: ช่วงเวลานั้นมีผลกระทบต่อการเรียนอะไรบ้างไหม?พลอย: นักข่าวเริ่มรู้ว่าอยู่โรงเรียนไหน ก็มาถ่ายบรรยากาศที่โรงเรียนแล้วก็เริ่มมีมาถามข่าวคราว ทำนองว่า “น้องพลอยเป็นอย่างไรบ้าง ชีวิตดีไหม ในการโดนฟ้อง มีอุปสรรคอะไรหรือเปล่า” ซึ่ง ผอ. ก็ให้เราเข้าห้องหลบไป และก็เหมือนไม่อยากให้สัมภาษณ์ เพราะกลัวโรงเรียนเสียชื่อด้วย ก็อยากให้เราไปขอโทษด้วย เพราะเหมือนทางเหมืองก็มากดดันด้วยว่า หากไปขอโทษแล้วทุกอย่างจะได้จบคดี เหมืองก็จะไม่ฟ้องประมาณนี้ แต่ประเด็นคือว่า ทำไมพลอยต้องไปขอโทษด้วย พลอยก็เลยโทรหาพี่ที่เป็นเป็นทนายความด้านสิทธิมนุษยชน พี่เขาก็เลยบอกว่า ไม่ต้องไปขอโทษหรอกเพราะเราไม่ผิด จึงทำให้เกิด “I am Ploy (ไอ แอม พลอย)” ขึ้นมาThe Isaander: “I am Ploy (ไอ แอม พลอย)” คือแคมเปญในเรื่องนี้ใช่ไหมครับ?พลอย: คือเราตกลงกันแล้วว่า เราจะไม่ไปขอโทษ และเรื่องต่างๆนี้ก็ไปถึงพี่ ไผ่ ดาวดิน ตัวละครอีกตัวหนึ่ง (หัวเราะ) พี่ไผ่ ก็คือรู้เรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว พี่ไผ่ ตัดสินใจนั่งรถจากขอนแก่น มาที่วังสะพุง เพื่อมาหาทางพูดคุยกับทาง ผอ. ในทำนองไม่อยากให้พลอยไปขอโทษ ประกอบกับช่วงนั้นเป็นช่วงที่ โรงเรียนจัดกิจกรรมปีใหม่ พี่ไผ่ เลยพูดว่า ทุกคนคือพลอยนะ ซึ่งคนที่แขวนป้ายข้อความว่า “I am Ploy” ทุกคนที่เป็นพลอยไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านหรือใครก็ตาม ก็ต้องไปขอโทษด้วย เพราะ ฉันคือพลอย ก็คือทุกคนที่แขวนป้ายชื่อดังกล่าวนั่งรถไป 3 -4 คันไปที่ โรงเรียนแล้วถ่ายรูปกันที่หน้าโรงเรียนลักษณะคล้ายม็อบ จากนั้นขับรถเข้าไปในโรงเรียน ก็เดินขบวนประท้วง แล้วพูดว่า “ฉันคือพลอยๆ ” บางครั้งเราก็รู้สึกว่า อายนะ แต่บางครั้งก็รู้สึกว่า ยังมีคนรักเรา พอไปถึงหน้าห้อง ผอ. แล้ว ผอ. ก็ออกมาแล้วพูดว่า “มีอะไรกันครับ” คนที่เดินขบวนเข้าไปก็พูดว่า “ฉันคือพลอย ฉันไม่ให้พลอยไปขอโทษ เพราะฉันคือพลอย ทุกคนก็ตะโกนหมดเลย ”The Isaander: ประมาณกี่คนครับที่ไปวันนั้น?พลอย: ประมาณ 50 คนค่ะ และก็มีนักข่าวเกาะติดรายงานข่าวตลอด ส่วน ผอ. ก็แถลงว่า “งั้นผมจะไม่ยุ่งกับพลอยอีกแล้วนะ ให้คุณไปจัดการกับพลอยกันเอง ให้เรื่องนี้มันจบ” วันที่ชาวบ้านไปที่โรงเรียนเป็นวันเดียวกันกับที่ ผอ.จะนำตัวพลอยไปสถานพินิจ เพื่อจะให้พลอยไปขอโทษทางเหมืองThe Isaander: ทางเหมือง นัดเจอที่สถานพินิจหรอครับ?พลอย: ใช่ค่ะ จริงๆ พลอยไม่ไปโรงเรียนก็ได้นะคะวันนั้น เพื่อตัดปัญหาออกไปเลย แต่พลอยก็อยากไปฉลองกับเพื่อนๆThe Isaander: เห็นคนแปลกหน้ามาโรงเรียนจำนวนหนึ่ง เพื่อนๆนักเรียนไม่แตกตื่นเหรอครับวันนั้น?พลอย: ช่วงนั้น นักเรียนที่อยู่โดมหน้าเสาธง มามุงดูทำนองสงสัยว่า ชาวบ้านมาทำไมเยอะแยะ คือนักเรียนเขาไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนThe Isaander: แต่เขาพอจะรู้ไหมว่าเป็นเรื่องของพลอยพลอย: ใช่ค่ะ นักเรียนด้วยกันก็ถามว่าทำไมโดนฟ้อง แล้วเราก็ไปโอบกอดครูท่านหนึ่งแล้วก็ร้องไห้ ครูก็ปลอบใจ ว่า “ไม่เป็นหรอก อย่างน้อยเราทำเพื่อตัวเอง ทำเพื่อบ้านตัวเอง ทำเพื่อคนที่ไม่กล้าออกมาบอกสื่อสาธารณะ เราก็ใช้สื่อสาธารณะบอกเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับหมู่บ้านให้คนอื่นได้รับรู้ เป็นสิ่งที่ดี เพียงแต่เราไม่ระมัดระวังเรื่องคำพูด” จนในวันนั้นก็จบลงด้วยดี ก็ไม่ได้ไปขอโทษแต่อย่างใด“I am Ploy ” Photo : Yostorn Triyos/ RalframeTheIsaander: ถึงที่สุดเรื่องนี้จบลงได้ยังไงครับพลอย: เราก็อยู่เฉยๆ แต่ก็มีหมายศาลจากมีนบุรี ส่งมา วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กำหนดให้พลอยไปมีนบุรี เพื่อไปไต่สวนมูลฟ้อง แล้วพลอยก็สงสัยว่า “คืออะไร” แล้วก็มีโพสต์ข้อความข่าวพร้อมภาพของพลอยที่ว่า “ต้องได้ไปเค้าดาวน์ที่เซนทรัลเวิลด์…ประมาณว่าโพสต์ล้อเลียน จากฝั่งที่อยู่ข้างเรา จากนั้นพลอยก็นำหมายศาลจากมีนบุรีนี้ไปให้กลุ่มทนายดู จากนั้นก็โทรหาพี่ส.รัตนมณี พลกล้า (ทนายความสิทธิมนุษยชน) ก็ดำเนินการให้ทั้งหมดเลย ก็ไม่ทราบว่าพี่เขาจัดการอย่างไร จากนั้นศาลก็แจ้งมาว่า เลื่อนไต่สวนไม่มีกำหนด ซึ่งพลอยคิดว่าน่าจะฟ้องเล่นๆให้เป็นอีกคดี ที่มีวัตถุประสงค์อยากให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายมาศาลประมาณนั้น ซึ่งศาลก็เลื่อนมาประมาณ 4 ปี แล้วศาลก็ไม่ดำเนินการอะไรต่อเลยตอนนี้เราก็พยายามสอบถามความคืบหน้าไปยังศาลมีนบุรี จนล่าสุดเมื่อประมาณปีที่แล้ว (2562) ศาลแจ้งกลับมาว่า คดีความหมดอายุแล้ว ประมาณ 4 ปี แต่ถ้าเป็นคดีอาญา พลอยคิดว่าเขาน่าจะเอากลับมาฟ้องใหม่ได้อีก เพราะตอนนี้พลอยก็อายุ 20 แล้ว แต่พลอยก็กลัวๆอยู่เรื่องการใช้คำพูดThe Isaander: หลังจากเราโดนคดีนี้ เพื่อนๆรอบข้างเขามีความสนใจเรื่องเหมืองทองคำมากขึ้นหรือไม่ หรือว่าเหมือนเดิม?พลอย: เพื่อนๆก็แค่สงสัย และเราก็แค่ตอบข้อสงสัยนั้น แต่เขาไม่สนใจถึงขนาดลงมาพื้นที่มาศึกษา แล้วพอพลอยขึ้นมาระดับอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่นี่ทราบข่าวพลอยจากข่าวที่ออกไปก่อนหน้านั้น ทางมหาวิทยาลัยก็เริ่มสนใจปัญหาหมู่บ้านพลอย เรื่องการต่อสู้ประมาณนี้ ก็เลยเริ่มพานักศึกษามาเรียนรู้เชิงวิจัยในชั้นเรียน คือวิจัยก่อนไปฝึกสอน แล้วก็อีกกลุ่ม เขาจะทำเรื่อง การเจ็บไข้ได้ป่วยของชาวบ้านนาหนองบง แต่ตอนนี้ยังดำเนินการอยู่ เขา(มรภ. เลย)ก็มีความสนใจอยู่พอสมควร แต่เขายังไม่กล้าเข้ามาพื้นที่เหมือง อาจด้วยปัจจัยหลายๆอย่างThe Isaander: เพื่อนที่มหาวิทยาลัยสนใจไหมครับ ผลตอบรับเป็นยังไง?พลอย: มาลงพื้นที่ทำเรื่องชีวิตชุมชนใกล้เหมือง กับเพื่อนๆ อยู่ค่ะ ประมาณ 3 - 4 กลุ่มที่พามา เขาสนใจเนื้องานเป็นเรื่องๆ เช่นทำฝ้ายก็สนใจแต่เรื่องทำฝ้าย ไม่ได้สนใจว่าการทำฝ้ายก็มีการต่อสู้ ประมาณว่าย้อนช่วงเวลาไปศึกษาความเป็นมาเป็นอย่างไร กว่าจะเป็นศูนย์ฝ้ายได้ ผ่านอะไรมาบ้าง ถ้าเราทำเรื่องฝ้าย เราก็ต้องทำสตอรี่เหมือนกัน กว่าจะได้เป็นฝ้ายต้องผ่านอะไรมาบ้าง มันก็ต้องมีเรื่องเหมืองเข้ามา ถ้ามีเรื่องฝ้ายเดี่ยวๆ โดดก็ไม่ได้ เพราะที่นี่เขาเติบโตด้วยการต่อสู้ เพราะที่เหมืองเข้ามา ก็เลยมีกลุ่มทอฝ้ายมา พวกเขาก็สมทบทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ถ้าไม่เอาเรื่องเหมืองเข้ามาเขาก็ไม่ได้เรื่องฝ้ายThe Isaander: ทำไมตัดสินใจเรียนคณะครุศาสตร์ เอกสังคมศึกษา?พลอย: ตอนเด็กๆเคยพูดกับย่าไง ว่า อยากเรียนครู คือเราพูดโดยไม่ตั้งใจ แต่คิดว่าอะไรที่พูดไม่ได้ตั้งใจมันจะเป็นจริง สุดท้ายก็ได้เรียนครู ด้วยสมัยก่อนเราคลุกคลีกับสังคมพอสมควร ซึ่งเรามองว่ามันน่าจะเข้ากันได้ในการที่เราเรียนสายสังคมกับที่เราทำอยู่ด้วย อันที่จริงมันเข้ากันได้เพียงแต่เราจะเอามาประยุกต์ใช้ยังไงแค่นั้น เราเรียนครู เราสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการสอนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชุมชนได้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้ เป็นครูที่ดีในการให้ความรู้เกี่ยวกับหมู่บ้าน ถ้าในอนาคตเขาเปิดแหล่งเรียนรู้ของกลุ่ม เราอาจจะนำศาสตร์ที่เราเรียนมา ไปสอนให้กับเด็กได้เหมือนกัน ครูสังคมก็จะมีเหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งวิชาหน้าที่พลเมืองก็จะใช้ด้วยกันได้The Isaander: คิดว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาพลอยจะเป็นครูที่ดีได้ไหม?พลอย: ตอนนี้ยังไม่มั่นใจว่าจะเป็นครูที่ดีได้หรือไม่ แต่เรามั่นใจว่าจบออกไปเราจะสอนอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถที่เรามี จิตวิญญาณที่เราเรียนมา จิตวิญญาณครู คือเคยคิดนะว่า จบออกไปอยากเป็นครูบนดอยนะ บางครั้งคิดว่าเด็กที่ยังขาดโอกาสที่จะเรียนก็ยังต้องการสิ่งเหล่านี้ เราก็เลยคิดว่าอยากนำสิ่งที่เราเรียนมาไปบอกไปสอนเขา ตามที่เราทำได้อ่ะ ถ้าเราเป็นครูที่ดีไม่ได้ แต่เราก็จะทำยังไงก็ได้ให้เด็กรักเรา ถ้าเขาอยากได้อะไร เราก็ให้เขาตามที่เราให้ได้The Isaander: ในวันที่เราโดนฟ้องคดี กับวันที่เราไปเป็นครู ถ้าเกิดมีนักเรียนที่โดนฟ้องเหมือนเราขึ้น เราจะบอกนักเรียนว่าอย่างไร ในกรณีข้อเท็จจริงที่เราออกไปพูดความจริงนี้?พลอย: จะคล้ายๆ เราจะให้คำปรึกษาว่า สิ่งที่เขาพูดมันมีน้ำหนักไปทางไหน เราก็พูดไปตามเนื้อผ้าที่ว่าเรื่องนั้นมันไปทางไหน ให้กำลังใจ อย่าให้เขาคิดมาก สอนวิธีเขาในการจัดการกับปัญหา เช่น ถ้าโดนฟ้อง เราก็แนะนำแนวทางตามปัญหานี้ให้เขาอย่าคิดมาก ให้คำแนะนำไป ถ้าเกิดมีคดีก็มาปรึกษาครู ได้ประมาณนี้ ให้เขาเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้นThe Isaander: ช่วงนี้สถานการณ์เหมืองเป็นอย่างไรบ้างครับพลอย: ปิดแล้วค่ะ ล้มละลายแต่ก็ยังไม่ 100% ซึ่งพลอยก็ไม่ทราบแน่ชัดก็เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ เราแค่รู้ว่าตอนนี้จะมีการยึดทรัพย์ของทางเหมือง ก็จะมีชาวบ้านที่เฝ้าเวรยามของทางเหมือง เพื่อที่จะเฝ้าระวังไม่ให้คนนอกเข้ามาขโมยของในเหมืองThe Isaander: การหายไปของกิจการเหมืองตอนนี้ก็พอจะพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่พลอยพูดไปถูก ใช่ไหม?พลอย: ก็น่าจะถูกค่ะ เพราะว่าเรื่องที่พลอยโดนฟ้องก็จะเป็นประเด็นหนึ่งที่จะให้เหมืองล้มละลายอีกทางหนึ่งเหมือนกัน เพราะพลอยพูดเรื่องน้ำเป็นส่วนใหญ่ ที่พลอยพูดไปก่อนหน้านี้ว่าจะมีวิจัยเรื่องน้ำของอาจารย์คนหนึ่งเกี่ยวเข้ามา ซึ่งอาจารย์คนนั้นก็เข้าให้คำปรึกษาในฐานะนักศึกษาปริญญาเอก ก็มาคลุกคลีกับพื้นที่ แล้วก็เกิดกิจกรรมเล็กๆเพื่อให้ชุมชนเกิดองค์ความรู้ จึงเกิดวิจัยน้ำขึ้นมา ซึ่งอาจารย์คนนั้นก็กล่าวว่า สิ่งที่พลอยพูดมันเป็นจริง พลอยก็เลยพูดกับกลุ่มเยาวชนกับชาวบ้านที่อยู่ในกลุ่ม กับพ่อๆ แม่ๆ กับพี่ๆทุกคนที่ทำวิจัยนี้ขึ้นมา จนนำงานวิจัยนี้ไปยื่นให้เหมืองฟื้นฟู อาจจะเป็นประเด็นหนึ่งที่ทำเราอยู่ในจุดที่ทำให้เราเชื่อมั่นตัวเองแล้วว่า สิ่งที่เราพูดมันคือเรื่องจริง มันมีความแตกต่างการใช้น้ำ ก่อนและหลังมีเหมือง พอมีเหมืองเข้ามาน้ำฝนก็กินไม่ได้เลย ต้องซื้อน้ำกินThe Isaander: ทุกวันนี้ทุกคนก็ยังซื้อน้ำกินใช่ไหมครับพลอย: ใช่ค่ะทุกคน 6 หมู่บ้านซื้อน้ำกินThe Isaander: แล้วข้าวล่ะ?พลอย: ( หัวเราะ…..) ข้าวก็ปลูกกินธรรมดา ซึ่งข้าวกับน้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เราอยู่รอด น้ำเรายังพอซื้อได้ แต่ข้าวถ้าเราไม่ทำเราก็ไม่มีเงินซื้อข้าวกินThe Isaander: ตอนนี้เราทำหน้าที่อะไรในกลุ่มรักบ้านเกิด?พลอย: เวลามีกิจกรรม เวิร์คช็อป เขาก็จะเรียกตัวกลับบ้าน ถ้ายุ่งจริงๆก็ไม่กลับ เพราะก็มีภาระหน้าที่ในการเรียน ถ้าเรามาบ้านก็มาถามไถ่บ้าง แต่ช่วงสอบก็ไม่มาเลย เพราะอ่านหนังสือหนักค่ะThe Isaander: เคยคิดไหมว่า เด็กอายุ 16 อย่างเรา วันหนึ่งต้องมารู้จักคำว่า NGOs การเคลื่อนไหว หรือหมายศาล สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนเราไปเยอะไหมครับพลอย: เปลี่ยนทุกอย่างค่ะ แต่ก่อนไม่รู้จัก NGOs ด้วยซ้ำ รู้จักแต่ มูลนิธิกระจกเงา คนหาย แค่นั้น ไม่ได้รู้อะไรเอยะแยะ รู้ในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้ เช่นเพื่อนที่ไม่เคยโดนคดี เราก้จะรู้มากกว่าเขาThe Isaander: คิดว่าการดำรงอยู่ของชาวบ้านกับสิ่งที่ได้คืนมาจากการหายไปของเหมืองคืออะไรครับพลอย: คิดว่าชัยชนะที่ต่อสู้มายาวนาน 10 กว่าปี รอยยิ้ม แต่เป็นรอยยิ้มที่ไม่เต็มปากมากนัก ความภูมิใจ ที่ไม่เต็มร้อย กล่าวคือเขาภูมิใจ และคาดหวังจะได้รับชัยชนะในภายภาคหน้า เช่นพี่ที่ยืนถือธงบนโรงงานเหมือง นี่คือชัยชนะของกูที่เกิดขึ้น ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา รอยยิ้มที่ พ่อๆแม่ๆ แต่รอยยิ่มที่เกิดขึ้นอย่างเต็มทีคือ เราได้ทำอย่างเต็มที่ จุดสุดยอด สิ่งที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูธรรมชาติ คือการให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง***7 พฤษภาคม 2561 ราชกิจจานุเวกษา เผยแพร่คำสั่งประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่องคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จากกรณี ธนาคารดอยซ์ แบงก์ เอจี เป็นโจทก์ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้จําเลยล้มละลาย และศาลได้มีคําสั่งลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ให้พิทักษ์ทรัพย์ของ บริษัท ทุ่งคํา จํากัด จําเลย เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483ขณะนี้กิจการของเหมืองปิดไปแล้วและปัจจุบันกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด กำลังการเตรียมผลักดันแผนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและสุขภาพฉบับประชาชน เพื่อนำร่องแผนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หลังจากถูกทำลายมาขอบคุณภาพจาก : realfreme #isaander #theisaander #เหมืองทอง #เมืองเลย #iamploy #realfreme
บ่ายสองกว่าๆรถทัวร์ปรับอากาศจากจังหวัดขอนแก่น เทียบท่าบขส.วังสะพุง แดดบ่ายฉายอาบเกรียมจนรู้สึกร้อนรุ่มตั้งแต่รถวิ่งผ่านผานกเค้า อำเภอภูกระดึง ราวกับได้ยินการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เราเดินทางมาที่นี่ตามคำชักชวนของช่างภาพReal Frame เพื่อสำรวจตรวจตรา วิถีชุมชนชิดเหมืองทองคำ ในวันที่พวกเขากำลังเข้าร่วมเวิร์กชอปการถ่ายภาพเพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สื่อสารเรื่องราวต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่ปนมากับคราบน้ำตาในแบบฉบับคนรักษ์บ้านเกิดตลอดสิบกว่าปี“I am Ploy (ไอ แอม พลอย)” วันเพ็ญ คุณนา Photo : Yostorn Triyos/ Realframe“ลำน้ำฮวย แหล่งน้ำสาธารณะใน ตำบลเขาหลวง ไม่สามารถนำมาอุปโภคบริโภค เพราะ...”(ส่วนหนึ่งจากข้อความรายงานข่าวไทยพีบีเอส ออกอากาศ 1 กันยายน 2558 ตอน “นักสืบลำน้ำฮวย แทัๆแน๊ว”)ไม่ต้องดูการ์ตูนโคนันยอดนักสืบ หรือท่องสูตรตารางเคมีกวดวิชาอาจารยอุ๊ พลอย วันเพ็ญ คุณนา ก็รู้จักความร้ายแรงของสารพิษไซยาไนด์ตั้งแต่เยาว์วัย นั่นเพราะหมู่บ้านภูทับฟ้า บ้านเกิดเธอเป็น 1 ใน 6 หมู่บ้าน ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ พลอยเกิดปี 2542 เรียนชั้นประถมที่โรงเรียนชุมชนวังสะพุง ก่อนเข้าเรียนชั้นม.1-ม.6 ที่โรงเรียนศรีสงคราม ปี 2558 เธอเป็นที่รู้จักผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อไทยพีบีเอสเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ชาวบ้านได้รับจากสารปนเปื้อนที่มาจากเหมืองทองคำThe Isaander: ตั้งแต่ปี 2549 ที่เหมืองเริ่มกิจการ เราเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรของที่นี่บ้าง?พลอย: บ้านพลอยอ่ะ มันจะเป็นลำห้วย เป็นแหล่งหาอาหารของทั้ง 6 หมู่บ้าน ที่คนต้องมาหาปูหาปลาหรือมาเก็บผัก เช่นเก็บผักบุ้งไปผัดกินบ้างประมาณนี้ พอเขาเห็นเราจะเล่นน้ำ ผู้ใหญ่ก็ห้าม ห้ามนะมันมีสารพิษ ลงไปแล้วมันจะคัน มันจะเป็นผื่น แล้วก็เราไม่ฟัง ก็ยังคงเล่นเรื่อยมาจนถึง ป.4 ป.5 เลยนะ เราก็เล่นไปThe Isaander: แสดงว่ามีบ้างที่รู้ถึงผลกระทบเหมือง แต่ยังใช้ชีวิตปกติ?พลอย: เพราะว่าน้ำเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเขา แล้วอีกอย่างที่นาเขาก็อยู่ติดน้ำ ก็ต้องใช้น้ำทำมากิน ทำไร่ทำนาก็คือเป็นวิถีชีวิตของเขาไปแล้ว พอสักพัก พลอยเริ่มมีเพื่อนเป็นผื่น เพราะสารจะสะสมในร่างกายไปเรื่อยๆ คือไม่ได้เห็นผลโดยตรงเลย และอีกอย่างหลังปี 2549 เหมืองเริ่มกิจการได้ไม่นาน พลอยเริ่มสังเกตเห็นว่าน้ำเริ่มเปลี่ยนสี เป็นสีดำๆและมีกลิ่น มีปลาตายด้วย ลักษณะปลาขาดออกซิเจนในน้ำ ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็ไม่กล้าเล่นน้ำอีกเลยThe Isaander: พอโตขึ้นมาทราบไหมว่าสารเหล่านั้นที่อยู่ในน้ำ ชื่ออะไรบ้าง?พลอย: ก็พวกสารไซยาไนด์ สารหนู ตะกั่ว คือสารไซยาไนด์ เป็นชื่อแรกที่ได้ยิน ประมาณตอน ป.2 เคยได้ขึ้นไปเหมือง เพราะว่าคนงานเหมืองเข้ามาในหมู่บ้าน เขามาบอกเล่าว่าจะมาสอนภาษาอังกฤษให้ แล้วก็เลยชวนเพื่อนในหมู่บ้านไป เขาก็จัดรถมารับมาส่ง มีเพื่อนประมาณ 7-8 คนที่ไปด้วยกัน พอเขามารับเราไป พอขึ้นไปเหมือง เขาไม่ได้สอนอะไรเลยนะ แต่เขาเปิดวีดีทัศน์ให้ชม แล้วก็บอกว่า มันจะมีสารไซยาไนไนไนด์ตรงไหนบ้างประมาณนั้น แล้วสารไซยาไนด์ก็เป็นสารชื่อแรกที่เราได้ยินThe Isaander: ตอนนั้นคิดว่าดีหรือไม่ดี จากที่เขาได้บอกเรา?พลอย: เราก็รู้สึกเฉยๆ เพราะด้วยความเป็นเด็ก เราไม่ได้แบบรู้ว่ามันมีผลดี ผลเสียอย่างไรกับเราหรือกับสิ่งแวดล้อม ก็แค่รู้ว่ามันเป็นความรู้เฉยๆว่ามันคือชื่อนี้ (สารไซยาไนด์) แต่ พอโตขึ้นก็เริ่มทราบว่าสารไซยาไนด์มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่นน้ำ ซึ่งมันจะเข้าสู่ร่างกายแล้วเกิดเจ็บป่วยประมาณนั้นแต่ถึงแม้ว่าเรารู้ว่ามันเกิดผลกระทบยังไง เราก็ยังไม่ได้ใส่ใจนะ ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าชาวบ้านเริ่มตั้งกลุ่มศึกษาผลกระทบ จนมาช่วง ม.2 ที่รู้ว่ามีกลุ่มเข้ามา“I am Ploy (ไอ แอม พลอย)” วันเพ็ญ คุณนา Photo : Yostorn Triyos/ RealframeThe Isaander: นอกจากพลอยแล้วมีคนสนใจปัญหาเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน หรือในมุมมองของพลอยทำไมเรื่องนี้มันถึงสำคัญ ?พลอย: เพราะเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกคนที่ใช้พื้นที่ป่าแถวนั้น พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อย่างเช่น ข้างบ่อเก็บกัก จะเป็นต้นน้ำห้วยเหล็ก แหล่งหาอาหารชั้นดีของ 6 หมู่บ้านที่เขาหาอาหาร คือถ้าเราไม่เอาเรื่องสิ่งแวดล้อมขึ้นมาพูดแล้วเราจะเอาเรื่องไหน เพราะสิ่งแวดล้อมมันเป็นเรื่องหลักที่เราจะต้องมาให้ความสนใจกับมัน ถ้าสิ่งแวดล้อม เช่นน้ำหายไป แล้วเราจะใช้น้ำที่ไหนในการทำการเกษตร หรือการหาอาหาร พลอยมองว่าการกินเป็นการอยู่รอดของมนุษย์ ถ้าเราไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ เราก็ไม่สามารถที่จะเดินหน้าต่อไปได้ เราจึงเอาเรื่องสิ่งแวดล้อมขึ้นมาพูดThe Isaander: ช่วง ม.4การที่เด็กคนหนึ่งจะออกไปพูดปัญหาเรื่องพวกนี้ จู่ๆเราเดินไปให้สัมภาษณ์นักข่าวเลยไหมครับว่ามันเกิดอะไรขึ้นตอนนั้น?พลอย: มันเกิดจากความบังเอิญมากกว่า ด้วยความที่ว่าวันนั้น เราเป็นคนไปค่าย แล้วเราก็เป็นพี่เลี้ยง ค่ายนี้ มันจะมี กลุ่มหนึ่งที่เป็นกลุ่มของ พี่เอ๋ มมส. (ศิริพร ฉายเพ็ชรจากโครงการอาสาสมัครเพื่อสังคม) แล้วก็กลุ่มของคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม มาทำค่ายในชุมชน คือเขาจัดค่ายนี้ขึ้น แล้วเขาก็มาหาพี่เลี้ยงหลายครั้ง ตอนนั้นพลอยยังไม่ได้เข้ากลุ่มคนรักบ้านเกิด พลอยเป็นหลานป้าที่คนในค่ายมาพักด้วย แล้วเราบังเอิญเจอกันพอดี พี่เขาชักชวนว่า อยากลองไปเป็นพี่เลี้ยงค่ายดูไหม เปิดประสบการณ์ใหม่The Isaander: เห็นว่าตอนนั้นยังไม่ได้สนใจอะไรเป็นพิเศษ เลยยังไม่เข้าร่วมค่ายเยาวชน?พลอย: พี่เขาก็ง้ออยู่หลายครั้ง และเหมือนจะไปยื่นหนังสือที่โรงเรียนเพื่อขออนุญาตส่งตัวเราให้เข้าค่ายด้วย เขาก็เลยเห็นเราที่โรงเรียน พี่เขาก็เลยชวนมาคุย พลอยเห็นพี่เขาทำขนาดนี้ก็เลยลองดู เลยตัดสินใจไปกับพี่เขา ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และเราก็ต้องอบรมการเป็นพี่เลี้ยงก่อน ซึ่งพี่เลี้ยงจะเป็นคนที่ทำหน้าที่ในการดำเนินงานเป็นคนดูแลเด็กช่วง ป.1 ขึ้นไปถึงประมาณ ป.6 และก็จะมีนักเรียนมัธยมบ้าง ก็จะมีเด็กเล็กเด็กแดงที่มากับพี่ๆ เพราะพ่อแม่เขาอยากให้มาคลุกคลี เรียนรู้ด้วย ซึ่งเราก็ต้องดูน้อง ช่วยน้องในเรื่องทำงานกลุ่มที่เขาแบ่งให้ ในการแนะนำเขาว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง ฝึกให้เขาคิดประมาณนั้น พอเราได้เข้าไปทำงานในกลุ่ม จะมีช่วงตกเย็นก็จะมีสำนักข่าวของไทยพีบีเอสมา น่าจะเป็นของ นักข่าวพลเมือง มาชักชวนให้สัมภาษณ์The Isaander: เราให้สัมภาษณ์ไปยังไงครับตอนนี้?พลอย: พี่เขาก็ขอสัมภาษณ์ถึงความรู้สึกว่า เป็นอย่างไรบ้าง รู้สึกดีหรือเปล่า ชอบหรือไม่ค่ายนี้ แล้วก็ตะล่อมเราไปเรื่อยๆ จากนั้นให้เล่าเรื่องราวในหมู่บ้านของเรา ว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้าง ซึ่งเราก็เห็นผลกระทบตั้งแต่เด็ก แต่ก็ไม่ได้คำนึงถึงคำพูดด้วยไง ก็พูดไปตามที่เห็นตั้งแต่ ป 2. จนถึง ม.4 ก็พูดไป เป็นต้นว่า ลำน้ำมีสารปนเปื้อนจากน้ำที่มาจากเหมืองแร่อุตสาหกรรม ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไร ซึ่งก็คิดว่ามันถูกต้อง และมันก็เป็นเรื่องจริงแหล่ะที่มีสารปนเปื้อน ก็สัมภาษณ์ไปเรื่อยๆThe Isaander: จนมาถึงจุดเปลี่ยนของชีวิตยังไงเมื่อบทสัมภาษณ์เผยแพร่ออกไป?พลอย: จากนั้น ประมาณหนึ่งอาทิตย์ เขาก็ลงข่าว แล้วมีพี่ที่มาชวนไปค่าย แชร์มาให้ดูว่า “เนี่ย เป็นดาราแล้วนะ” ซึ่ง ดาราข้ามคืนนี่ หมายศาลถึงบ้านเราเลย ซึ่งเป็นดาราได้ประมาณวันหนึ่ง ก็มีหมายศาลถึงบ้านเลยThe Isaander: ตอนนั้นรู้ไหมว่า หมายศาลคืออะไร?พลอย: ไม่รู้ว่า หมายศาลคืออะไร กฎหมายคืออะไรยังไม่รู้ แต่รู้ว่ามีกฎหมายอาญา แล้วก็ไม่รู้ว่าโดนคดีอะไร จนเราได้หมายศาลว่า คดีอาญา และช่วงนั้นเรายังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยเขาจึงยังไปฟ้องเลยไม่ได้ แล้วเราได้หมายศาลมาแล้วยังตั้งคำถามในใจว่า คืออะไรยังไง ซึ่งก็คิดว่า ตอนให้สัมภาษณ์กับพี่นักข่าวตอนนั้นก็แค่พูด แสดงความเห็นที่รู้ ที่เห็นมาตั้งแต่เด็กจนโต แล้วทำไมมาทำกับเราแบบนี้ พอได้หมายศาล ก็มีความรู้สึกหดหู่ เสียใจว่าทำไมได้รับหมายศาลเพราะไปค่ายนั้น ทำไมเราโดนคนเดียว ทั้งที่เพื่อนคนอื่นก็ไปด้วยThe Isaander: ตอนนั้นในฐานะเราเป็นพี่เลี้ยงในค่ายเราอายุน้อยสุดไหมครับพลอย: ใช่ค่ะ คนอื่นก็อายุมากว่าเราเช่นอายุ 17 ปี 18 ปี และก็ข้ามไป 20 ปี ประมาณนั้น แล้วเด็กๆที่มาค่ายก็จะอยู่ ป.1 ป.2 เป็นเด็กในหมู่บ้านแถวนั้นเลยค่ะThe Isaander: ทราบไหมครับว่า ทำไมวันนั้นพี่นักข่าวถึงเลือกมาสัมภาษณ์เราครับ?พลอย: ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ แต่คิดว่าก่อนหน้านี้พี่นักข่าวเล็งสัมภาษณ์รุ่นพี่เราอีกคนไว้ แต่เขาไปเข้าห้องน้ำในเวลานั้น ซึ่งพี่นักข่าวอยากสัมภาษณ์ตอนนั้นด้วย และเรา ก็อยู่ตรงนั้นพอดี ก็เลยถูกสัมภาษณ์โดยปริยาย จนส่งผลให้เกิดคดีขึ้นต่อมาThe Isaander: พอหลังจากได้รับหมายศาล ทางเพื่อน ๆ หรือโรงเรียนว่าอย่างไรบ้างครับ?พลอย: ตอนนั้น ไม่ได้บอกเพื่อนคนอื่นค่ะ ยกเว้นเพื่อนสนิทคนเดียว เพื่อนสนิทคนนั้นก็ด่าพลอย ซึ่งเขาก็ชอบด่าอยู่แล้ว ก็ด่าประมาณว่า “มึงไปทำไม กูบอกแล้วว่าอย่าไป แล้วพลอยก็ตอบกลับว่าก็กูได้ไปแล้ว จะทำยังไงมันย้อนเวลากลับไปได้หรือไง” จากนั้นเพื่อนคนนั้นก็ให้กำลังใจว่า “ เออ สู้ๆนะมึง มึงยังเป็นเด็กเขายังทำอะไรไม่ได้หรอก” มันก็แบบให้กำลังใจตามที่มันให้ได้ ซึ่งมันไม่ได้โดนเองมันไม่รู้หรอกว่ามันเจ็บแค่ไหน“I am Ploy (ไอ แอม พลอย)” วันเพ็ญ คุณนา Photo : Yostorn Triyos/ RealframeThe Isaander: แล้วทางนักข่าวที่สัมภาษณ์เขาติดต่อยังไงมาบ้างครับ?พลอย: พี่เขาส่งข้อความมา เป็นไงบ้าง (หัวเราะ) คือช่วงนั้นก็ชุลมุนมาก คุยกับพี่ๆ จนได้ 3-4 วันที่ข่าวออกไป ที่ว่า เราโดนฟ้อง ก็มีเพื่อนๆโทรมาด่าว่า “มึงยังเป็นเพื่อนกูอยู่ไหม เรื่องใหญ่โตขนาดนี้ ทำไมไม่บอก”The Isaander: เพื่อนๆ รู้จากไหนครับ?พลอย: ในโซเชียลต่างๆ จากข่าวดังๆช่วงนั้นที่เขียนหัวข้อข่าวว่า “เหมืองฟ้องเด็กอายุ 16” ก็มีคนแชร์ทั้งโรงเรียน เดินไปทางไหนคนก็มอง ก็รู้สึกอายค่ะ ก็รู้สึกว่าโดนกดดันทั้งพ่อแม่ ผอ. (ผู้อำนวยการโรงเรียน) ที่โรงเรียนด้วยค่ะ โดนกดดันในเรื่องที่ว่า ให้เราไปขอโทษ ซึ่งผอ.เป็นคนกลาง แต่ คนกลางก็บอกให้เราไปขอโทษว่า เราเป็นเด็กThe Isaander: ตอนนั้นคิดไหมครับว่าเราไปขอโทษทำไม เราทำอะไรผิดครับ?พลอย: ไม่รู้เหมือนกันค่ะ ก็คือว่า ผอ.บอกให้ไปขอโทษเพราะเราเป็นเด็กควรไปขอโทษผู้ใหญ่ แต่ก็ยังสงสัยว่าจะไปขอโทษทำไมเราไม่ได้ทำอะไรผิด ซึ่งมันก็เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ที่เราเห็น เพียงแต่คนภายนอกเขาไม่รับรู้ และเขาก็ไม่เห็นเหมือนที่เราเห็นThe Isaander: ช่วงเวลานั้นมีผลกระทบต่อการเรียนอะไรบ้างไหม?พลอย: นักข่าวเริ่มรู้ว่าอยู่โรงเรียนไหน ก็มาถ่ายบรรยากาศที่โรงเรียนแล้วก็เริ่มมีมาถามข่าวคราว ทำนองว่า “น้องพลอยเป็นอย่างไรบ้าง ชีวิตดีไหม ในการโดนฟ้อง มีอุปสรรคอะไรหรือเปล่า” ซึ่ง ผอ. ก็ให้เราเข้าห้องหลบไป และก็เหมือนไม่อยากให้สัมภาษณ์ เพราะกลัวโรงเรียนเสียชื่อด้วย ก็อยากให้เราไปขอโทษด้วย เพราะเหมือนทางเหมืองก็มากดดันด้วยว่า หากไปขอโทษแล้วทุกอย่างจะได้จบคดี เหมืองก็จะไม่ฟ้องประมาณนี้ แต่ประเด็นคือว่า ทำไมพลอยต้องไปขอโทษด้วย พลอยก็เลยโทรหาพี่ที่เป็นเป็นทนายความด้านสิทธิมนุษยชน พี่เขาก็เลยบอกว่า ไม่ต้องไปขอโทษหรอกเพราะเราไม่ผิด จึงทำให้เกิด “I am Ploy (ไอ แอม พลอย)” ขึ้นมาThe Isaander: “I am Ploy (ไอ แอม พลอย)” คือแคมเปญในเรื่องนี้ใช่ไหมครับ?พลอย: คือเราตกลงกันแล้วว่า เราจะไม่ไปขอโทษ และเรื่องต่างๆนี้ก็ไปถึงพี่ ไผ่ ดาวดิน ตัวละครอีกตัวหนึ่ง (หัวเราะ) พี่ไผ่ ก็คือรู้เรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว พี่ไผ่ ตัดสินใจนั่งรถจากขอนแก่น มาที่วังสะพุง เพื่อมาหาทางพูดคุยกับทาง ผอ. ในทำนองไม่อยากให้พลอยไปขอโทษ ประกอบกับช่วงนั้นเป็นช่วงที่ โรงเรียนจัดกิจกรรมปีใหม่ พี่ไผ่ เลยพูดว่า ทุกคนคือพลอยนะ ซึ่งคนที่แขวนป้ายข้อความว่า “I am Ploy” ทุกคนที่เป็นพลอยไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านหรือใครก็ตาม ก็ต้องไปขอโทษด้วย เพราะ ฉันคือพลอย ก็คือทุกคนที่แขวนป้ายชื่อดังกล่าวนั่งรถไป 3 -4 คันไปที่ โรงเรียนแล้วถ่ายรูปกันที่หน้าโรงเรียนลักษณะคล้ายม็อบ จากนั้นขับรถเข้าไปในโรงเรียน ก็เดินขบวนประท้วง แล้วพูดว่า “ฉันคือพลอยๆ ” บางครั้งเราก็รู้สึกว่า อายนะ แต่บางครั้งก็รู้สึกว่า ยังมีคนรักเรา พอไปถึงหน้าห้อง ผอ. แล้ว ผอ. ก็ออกมาแล้วพูดว่า “มีอะไรกันครับ” คนที่เดินขบวนเข้าไปก็พูดว่า “ฉันคือพลอย ฉันไม่ให้พลอยไปขอโทษ เพราะฉันคือพลอย ทุกคนก็ตะโกนหมดเลย ”The Isaander: ประมาณกี่คนครับที่ไปวันนั้น?พลอย: ประมาณ 50 คนค่ะ และก็มีนักข่าวเกาะติดรายงานข่าวตลอด ส่วน ผอ. ก็แถลงว่า “งั้นผมจะไม่ยุ่งกับพลอยอีกแล้วนะ ให้คุณไปจัดการกับพลอยกันเอง ให้เรื่องนี้มันจบ” วันที่ชาวบ้านไปที่โรงเรียนเป็นวันเดียวกันกับที่ ผอ.จะนำตัวพลอยไปสถานพินิจ เพื่อจะให้พลอยไปขอโทษทางเหมืองThe Isaander: ทางเหมือง นัดเจอที่สถานพินิจหรอครับ?พลอย: ใช่ค่ะ จริงๆ พลอยไม่ไปโรงเรียนก็ได้นะคะวันนั้น เพื่อตัดปัญหาออกไปเลย แต่พลอยก็อยากไปฉลองกับเพื่อนๆThe Isaander: เห็นคนแปลกหน้ามาโรงเรียนจำนวนหนึ่ง เพื่อนๆนักเรียนไม่แตกตื่นเหรอครับวันนั้น?พลอย: ช่วงนั้น นักเรียนที่อยู่โดมหน้าเสาธง มามุงดูทำนองสงสัยว่า ชาวบ้านมาทำไมเยอะแยะ คือนักเรียนเขาไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนThe Isaander: แต่เขาพอจะรู้ไหมว่าเป็นเรื่องของพลอยพลอย: ใช่ค่ะ นักเรียนด้วยกันก็ถามว่าทำไมโดนฟ้อง แล้วเราก็ไปโอบกอดครูท่านหนึ่งแล้วก็ร้องไห้ ครูก็ปลอบใจ ว่า “ไม่เป็นหรอก อย่างน้อยเราทำเพื่อตัวเอง ทำเพื่อบ้านตัวเอง ทำเพื่อคนที่ไม่กล้าออกมาบอกสื่อสาธารณะ เราก็ใช้สื่อสาธารณะบอกเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับหมู่บ้านให้คนอื่นได้รับรู้ เป็นสิ่งที่ดี เพียงแต่เราไม่ระมัดระวังเรื่องคำพูด” จนในวันนั้นก็จบลงด้วยดี ก็ไม่ได้ไปขอโทษแต่อย่างใด“I am Ploy ” Photo : Yostorn Triyos/ RalframeTheIsaander: ถึงที่สุดเรื่องนี้จบลงได้ยังไงครับพลอย: เราก็อยู่เฉยๆ แต่ก็มีหมายศาลจากมีนบุรี ส่งมา วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กำหนดให้พลอยไปมีนบุรี เพื่อไปไต่สวนมูลฟ้อง แล้วพลอยก็สงสัยว่า “คืออะไร” แล้วก็มีโพสต์ข้อความข่าวพร้อมภาพของพลอยที่ว่า “ต้องได้ไปเค้าดาวน์ที่เซนทรัลเวิลด์…ประมาณว่าโพสต์ล้อเลียน จากฝั่งที่อยู่ข้างเรา จากนั้นพลอยก็นำหมายศาลจากมีนบุรีนี้ไปให้กลุ่มทนายดู จากนั้นก็โทรหาพี่ส.รัตนมณี พลกล้า (ทนายความสิทธิมนุษยชน) ก็ดำเนินการให้ทั้งหมดเลย ก็ไม่ทราบว่าพี่เขาจัดการอย่างไร จากนั้นศาลก็แจ้งมาว่า เลื่อนไต่สวนไม่มีกำหนด ซึ่งพลอยคิดว่าน่าจะฟ้องเล่นๆให้เป็นอีกคดี ที่มีวัตถุประสงค์อยากให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายมาศาลประมาณนั้น ซึ่งศาลก็เลื่อนมาประมาณ 4 ปี แล้วศาลก็ไม่ดำเนินการอะไรต่อเลยตอนนี้เราก็พยายามสอบถามความคืบหน้าไปยังศาลมีนบุรี จนล่าสุดเมื่อประมาณปีที่แล้ว (2562) ศาลแจ้งกลับมาว่า คดีความหมดอายุแล้ว ประมาณ 4 ปี แต่ถ้าเป็นคดีอาญา พลอยคิดว่าเขาน่าจะเอากลับมาฟ้องใหม่ได้อีก เพราะตอนนี้พลอยก็อายุ 20 แล้ว แต่พลอยก็กลัวๆอยู่เรื่องการใช้คำพูดThe Isaander: หลังจากเราโดนคดีนี้ เพื่อนๆรอบข้างเขามีความสนใจเรื่องเหมืองทองคำมากขึ้นหรือไม่ หรือว่าเหมือนเดิม?พลอย: เพื่อนๆก็แค่สงสัย และเราก็แค่ตอบข้อสงสัยนั้น แต่เขาไม่สนใจถึงขนาดลงมาพื้นที่มาศึกษา แล้วพอพลอยขึ้นมาระดับอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่นี่ทราบข่าวพลอยจากข่าวที่ออกไปก่อนหน้านั้น ทางมหาวิทยาลัยก็เริ่มสนใจปัญหาหมู่บ้านพลอย เรื่องการต่อสู้ประมาณนี้ ก็เลยเริ่มพานักศึกษามาเรียนรู้เชิงวิจัยในชั้นเรียน คือวิจัยก่อนไปฝึกสอน แล้วก็อีกกลุ่ม เขาจะทำเรื่อง การเจ็บไข้ได้ป่วยของชาวบ้านนาหนองบง แต่ตอนนี้ยังดำเนินการอยู่ เขา(มรภ. เลย)ก็มีความสนใจอยู่พอสมควร แต่เขายังไม่กล้าเข้ามาพื้นที่เหมือง อาจด้วยปัจจัยหลายๆอย่างThe Isaander: เพื่อนที่มหาวิทยาลัยสนใจไหมครับ ผลตอบรับเป็นยังไง?พลอย: มาลงพื้นที่ทำเรื่องชีวิตชุมชนใกล้เหมือง กับเพื่อนๆ อยู่ค่ะ ประมาณ 3 - 4 กลุ่มที่พามา เขาสนใจเนื้องานเป็นเรื่องๆ เช่นทำฝ้ายก็สนใจแต่เรื่องทำฝ้าย ไม่ได้สนใจว่าการทำฝ้ายก็มีการต่อสู้ ประมาณว่าย้อนช่วงเวลาไปศึกษาความเป็นมาเป็นอย่างไร กว่าจะเป็นศูนย์ฝ้ายได้ ผ่านอะไรมาบ้าง ถ้าเราทำเรื่องฝ้าย เราก็ต้องทำสตอรี่เหมือนกัน กว่าจะได้เป็นฝ้ายต้องผ่านอะไรมาบ้าง มันก็ต้องมีเรื่องเหมืองเข้ามา ถ้ามีเรื่องฝ้ายเดี่ยวๆ โดดก็ไม่ได้ เพราะที่นี่เขาเติบโตด้วยการต่อสู้ เพราะที่เหมืองเข้ามา ก็เลยมีกลุ่มทอฝ้ายมา พวกเขาก็สมทบทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ถ้าไม่เอาเรื่องเหมืองเข้ามาเขาก็ไม่ได้เรื่องฝ้ายThe Isaander: ทำไมตัดสินใจเรียนคณะครุศาสตร์ เอกสังคมศึกษา?พลอย: ตอนเด็กๆเคยพูดกับย่าไง ว่า อยากเรียนครู คือเราพูดโดยไม่ตั้งใจ แต่คิดว่าอะไรที่พูดไม่ได้ตั้งใจมันจะเป็นจริง สุดท้ายก็ได้เรียนครู ด้วยสมัยก่อนเราคลุกคลีกับสังคมพอสมควร ซึ่งเรามองว่ามันน่าจะเข้ากันได้ในการที่เราเรียนสายสังคมกับที่เราทำอยู่ด้วย อันที่จริงมันเข้ากันได้เพียงแต่เราจะเอามาประยุกต์ใช้ยังไงแค่นั้น เราเรียนครู เราสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการสอนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชุมชนได้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้ เป็นครูที่ดีในการให้ความรู้เกี่ยวกับหมู่บ้าน ถ้าในอนาคตเขาเปิดแหล่งเรียนรู้ของกลุ่ม เราอาจจะนำศาสตร์ที่เราเรียนมา ไปสอนให้กับเด็กได้เหมือนกัน ครูสังคมก็จะมีเหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งวิชาหน้าที่พลเมืองก็จะใช้ด้วยกันได้The Isaander: คิดว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาพลอยจะเป็นครูที่ดีได้ไหม?พลอย: ตอนนี้ยังไม่มั่นใจว่าจะเป็นครูที่ดีได้หรือไม่ แต่เรามั่นใจว่าจบออกไปเราจะสอนอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถที่เรามี จิตวิญญาณที่เราเรียนมา จิตวิญญาณครู คือเคยคิดนะว่า จบออกไปอยากเป็นครูบนดอยนะ บางครั้งคิดว่าเด็กที่ยังขาดโอกาสที่จะเรียนก็ยังต้องการสิ่งเหล่านี้ เราก็เลยคิดว่าอยากนำสิ่งที่เราเรียนมาไปบอกไปสอนเขา ตามที่เราทำได้อ่ะ ถ้าเราเป็นครูที่ดีไม่ได้ แต่เราก็จะทำยังไงก็ได้ให้เด็กรักเรา ถ้าเขาอยากได้อะไร เราก็ให้เขาตามที่เราให้ได้The Isaander: ในวันที่เราโดนฟ้องคดี กับวันที่เราไปเป็นครู ถ้าเกิดมีนักเรียนที่โดนฟ้องเหมือนเราขึ้น เราจะบอกนักเรียนว่าอย่างไร ในกรณีข้อเท็จจริงที่เราออกไปพูดความจริงนี้?พลอย: จะคล้ายๆ เราจะให้คำปรึกษาว่า สิ่งที่เขาพูดมันมีน้ำหนักไปทางไหน เราก็พูดไปตามเนื้อผ้าที่ว่าเรื่องนั้นมันไปทางไหน ให้กำลังใจ อย่าให้เขาคิดมาก สอนวิธีเขาในการจัดการกับปัญหา เช่น ถ้าโดนฟ้อง เราก็แนะนำแนวทางตามปัญหานี้ให้เขาอย่าคิดมาก ให้คำแนะนำไป ถ้าเกิดมีคดีก็มาปรึกษาครู ได้ประมาณนี้ ให้เขาเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้นThe Isaander: ช่วงนี้สถานการณ์เหมืองเป็นอย่างไรบ้างครับพลอย: ปิดแล้วค่ะ ล้มละลายแต่ก็ยังไม่ 100% ซึ่งพลอยก็ไม่ทราบแน่ชัดก็เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ เราแค่รู้ว่าตอนนี้จะมีการยึดทรัพย์ของทางเหมือง ก็จะมีชาวบ้านที่เฝ้าเวรยามของทางเหมือง เพื่อที่จะเฝ้าระวังไม่ให้คนนอกเข้ามาขโมยของในเหมืองThe Isaander: การหายไปของกิจการเหมืองตอนนี้ก็พอจะพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่พลอยพูดไปถูก ใช่ไหม?พลอย: ก็น่าจะถูกค่ะ เพราะว่าเรื่องที่พลอยโดนฟ้องก็จะเป็นประเด็นหนึ่งที่จะให้เหมืองล้มละลายอีกทางหนึ่งเหมือนกัน เพราะพลอยพูดเรื่องน้ำเป็นส่วนใหญ่ ที่พลอยพูดไปก่อนหน้านี้ว่าจะมีวิจัยเรื่องน้ำของอาจารย์คนหนึ่งเกี่ยวเข้ามา ซึ่งอาจารย์คนนั้นก็เข้าให้คำปรึกษาในฐานะนักศึกษาปริญญาเอก ก็มาคลุกคลีกับพื้นที่ แล้วก็เกิดกิจกรรมเล็กๆเพื่อให้ชุมชนเกิดองค์ความรู้ จึงเกิดวิจัยน้ำขึ้นมา ซึ่งอาจารย์คนนั้นก็กล่าวว่า สิ่งที่พลอยพูดมันเป็นจริง พลอยก็เลยพูดกับกลุ่มเยาวชนกับชาวบ้านที่อยู่ในกลุ่ม กับพ่อๆ แม่ๆ กับพี่ๆทุกคนที่ทำวิจัยนี้ขึ้นมา จนนำงานวิจัยนี้ไปยื่นให้เหมืองฟื้นฟู อาจจะเป็นประเด็นหนึ่งที่ทำเราอยู่ในจุดที่ทำให้เราเชื่อมั่นตัวเองแล้วว่า สิ่งที่เราพูดมันคือเรื่องจริง มันมีความแตกต่างการใช้น้ำ ก่อนและหลังมีเหมือง พอมีเหมืองเข้ามาน้ำฝนก็กินไม่ได้เลย ต้องซื้อน้ำกินThe Isaander: ทุกวันนี้ทุกคนก็ยังซื้อน้ำกินใช่ไหมครับพลอย: ใช่ค่ะทุกคน 6 หมู่บ้านซื้อน้ำกินThe Isaander: แล้วข้าวล่ะ?พลอย: ( หัวเราะ…..) ข้าวก็ปลูกกินธรรมดา ซึ่งข้าวกับน้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เราอยู่รอด น้ำเรายังพอซื้อได้ แต่ข้าวถ้าเราไม่ทำเราก็ไม่มีเงินซื้อข้าวกินThe Isaander: ตอนนี้เราทำหน้าที่อะไรในกลุ่มรักบ้านเกิด?พลอย: เวลามีกิจกรรม เวิร์คช็อป เขาก็จะเรียกตัวกลับบ้าน ถ้ายุ่งจริงๆก็ไม่กลับ เพราะก็มีภาระหน้าที่ในการเรียน ถ้าเรามาบ้านก็มาถามไถ่บ้าง แต่ช่วงสอบก็ไม่มาเลย เพราะอ่านหนังสือหนักค่ะThe Isaander: เคยคิดไหมว่า เด็กอายุ 16 อย่างเรา วันหนึ่งต้องมารู้จักคำว่า NGOs การเคลื่อนไหว หรือหมายศาล สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนเราไปเยอะไหมครับพลอย: เปลี่ยนทุกอย่างค่ะ แต่ก่อนไม่รู้จัก NGOs ด้วยซ้ำ รู้จักแต่ มูลนิธิกระจกเงา คนหาย แค่นั้น ไม่ได้รู้อะไรเอยะแยะ รู้ในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้ เช่นเพื่อนที่ไม่เคยโดนคดี เราก้จะรู้มากกว่าเขาThe Isaander: คิดว่าการดำรงอยู่ของชาวบ้านกับสิ่งที่ได้คืนมาจากการหายไปของเหมืองคืออะไรครับพลอย: คิดว่าชัยชนะที่ต่อสู้มายาวนาน 10 กว่าปี รอยยิ้ม แต่เป็นรอยยิ้มที่ไม่เต็มปากมากนัก ความภูมิใจ ที่ไม่เต็มร้อย กล่าวคือเขาภูมิใจ และคาดหวังจะได้รับชัยชนะในภายภาคหน้า เช่นพี่ที่ยืนถือธงบนโรงงานเหมือง นี่คือชัยชนะของกูที่เกิดขึ้น ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา รอยยิ้มที่ พ่อๆแม่ๆ แต่รอยยิ่มที่เกิดขึ้นอย่างเต็มทีคือ เราได้ทำอย่างเต็มที่ จุดสุดยอด สิ่งที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูธรรมชาติ คือการให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง***7 พฤษภาคม 2561 ราชกิจจานุเวกษา เผยแพร่คำสั่งประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่องคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จากกรณี ธนาคารดอยซ์ แบงก์ เอจี เป็นโจทก์ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้จําเลยล้มละลาย และศาลได้มีคําสั่งลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ให้พิทักษ์ทรัพย์ของ บริษัท ทุ่งคํา จํากัด จําเลย เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483ขณะนี้กิจการของเหมืองปิดไปแล้วและปัจจุบันกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด กำลังการเตรียมผลักดันแผนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและสุขภาพฉบับประชาชน เพื่อนำร่องแผนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หลังจากถูกทำลายมาขอบคุณภาพจาก : realfreme #isaander #theisaander #เหมืองทอง #เมืองเลย #iamploy #realfreme
Comments