top of page
  • Writer's pictureThe Isaander

Look back at your smile.



ย้อนดู อุตสาหกรรมภาพยนตร์ยุครุ่งเรืองของกัมพูชา ก่อนเขมรแดงปกครอง


กัมพูชาหรือเขมร มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ในส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ราว 30-40 ปี


ก่อนหน้านี้ พื้นที่"อีสานใต้ " บริเวณเลาะริมตะเข็บชานแดน ผู้คนต่างมีเรื่องเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของประเทศข้างเคียงอย่าง เขมร ที่ช่วงนั้นการเมืองของประเทศไทยเองก็อยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ระหว่างการสู้รบกับลัทธิคอมมิวนิสต์จีนและยอมตามอิทธิพลมหาอำนาจอเมริกา


.


ยิ่งกับการเถลิงอำนาจของ พลพต ช่วงปี 1976-1979 ที่แปรประเทศเป็นคอมมิวนิสต์ เพื่อหวังอยากกลับไปรุ่งเรืองแบบอาณาจักรขอม แต่ท้ายสุดก็ล้มเหลวและเขมรหยุดชะงักการพัฒนาไปหลายปี


.

คำว่า เขมรแดง เขมรแตก เป็นคำที่ใครหลายคนได้ยินแล้วคงนึกถึงความโหดร้ายที่ประเทศเพื่อนบ้านเข่นฆ่ากันเอง กระทั่งเด็กที่เติบโตมาหลังยุคนั้น ก็ยังได้ยินปัญหาความขัดแย้งและข้อพิพาทอันเกิดจากอุดมการณ์ทางการเมืองและเรื่องขัดแย้งทางเชื้อชาติ วัตถุเช่น กับระเบิด และบังเกอร์ คือสิ่งตกค้างจากยุคนั้น ที่ทุกวันนี้ยังหลงเหลือเพื่อเตือนความจำความปวดร้าวนั้นอยู่


.


แล้วก่อนหน้ายุคเขมรแดงล่ะ ? กัมพูชามีอะไรที่น่าเสียดายและหายไปจากการพลิกประเทศของผู้ที่ได้รับการแอบอ้างว่า ' Brother Number One ' บ้าง


.


Last night I Saw your Smiling - จากการฉายภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับประเทศกัมพูชาในเมืองไทยขณะนี้ เราเลยถือโอกาสค้นคว้าเรื่องโรงหนังและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของกัมพูชาก่อนยุคเขมรแดง โดยเฉพาะหนังที่สร้างจากเรื่องราวของสิ่งปลูกสร้างอย่าง ' the White Building ' หรือตึกขาวที่ถูกสร้างในยุค 1960 สมัยพระเจ้านโรดมสีหนุปกครองประเทศ


พื้นที่แห่งนั้นบรรจุไปด้วยเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ ก่อนเขมรแดงจะกวาดต้อนผู้คนออกไปจากตึกในปี 1975 กระทั่งหลังเขมรแดงสิ้นอำนาจลง รัฐบาลจึงประกาศให้ศิลปินที่รอดชีวิตจากยุคนั้น มาอาศัยที่ตึกนี้ได้ ที่แห่งนี้จึงเต็มไปด้วยศิลปินมากมายของกัมพูชาที่รอดชีวิตจากยุคเขมรแดง แต่แล้วข้ามมาปี 2017 ผู้คนก็ต้องออกจากตึกนั้นอีกครั้งเพราะถูกซื้อโดยบริษัททุนญี่ปุ่นเพื่อเอาพื้นที่ไปทำอย่างอื่น


.


The Isaander จึงอยากชวนย้อนไปดูวันวานในอดีตอันรุ่งเรืองของแวดวงหนังกัมพูชาบ้าง


.

ช่วงเวลาประมาณปี 1960 ศิลปวัฒนธรรมของประเทศกัมพูชาค่อนข้างเฟื่องฟู จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นยุคทองทางวัฒนธรรมของประเทศ ปี 1967 มีบริษัทผลิตภาพยนตร์จำนวนมาก หนังในช่วงนี้มีมากกว่า 300 เรื่อง และรัฐบาลสนับสนุนการสร้างโรงหนังขึ้นทั่วประเทศ


.


หนังที่ผลิตในกัมพูชาเป็นที่นิยมสูง ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับยุคคลาสสิก เรื่องเล่า และวัฒนธรรมกัมพูชา ภาพยนตร์ของกัมพูชายังเป็นที่ชื่นชอบในระดับนานาชาติ เช่นภาพยนตร์เรื่องงูเก็งกองเป็นที่ประทับใจในไทยและฮ่องกง พระนโรดม สีหนุเองก็เป็นนักถ่ายทำภาพยนตร์


ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์โรแมนติก ภาพยนตร์เรื่องเอกของพระองค์คือ อัปสรา ภาพยนตร์เรื่องอื่นที่พระองค์ถ่ายทำ ได้แก่ Ombre Sur Angkor Rose de Bokor Crepuscule (Twilight) และ Joie de vivre


.


ปี 1970-1975 ว่ากันว่าประเทศไทยนำเข้าภาพยนตร์จากกัมพูชามากกว่า 30 เรื่อง ก่อนจะออกเร่ฉายตามสายหนังในทั่วประเทศ โดยเฉพาะเรื่อง “งูเก็งกอง” ที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ส่งออกหนังไปยังเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน สิงคโปร์และฮ่องกง-ตลาดภาพยนตร์ การส่งประกวดภาพยนตร์เวทีนานาชาติ


.

ชาวกัมพูชาเองพวกเขาเชื่อมั่นว่าสำหรับยุค 70 แล้ว พวกเขามีความก้าวหน้ากว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้


.


ในเมืองหลวงอย่างพนมเปญ เป็นศูนย์กลางโรงหนังที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของเอเชีย บางโรงถึงกับสงวนไว้ฉายเฉพาะหนังต่างประเทศ เช่นเดียวกับโรงหนังในต่างจังหวัด เช่น พระตะบองที่มีถึง 7 โรงเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ โรงหนังเหล่านี้มีโปรแกรมฉายยืนโรงเป็นเดือน บ่งถึงรสนิยมคนคลั่งหนังในเขมร ที่ไม่น้อยหน้าใครในย่านอาเซียน


.

ส่วนโรงหนังที่เป็นที่นิยมของผู้คนสมัยนั้นคือ โรงหนังที่มีชื่อว่า Hemakcheat เปิดให้บริการในช่วงแรกของทศวรรษที่ 1960 เป็นอาคารแบบ brutalist-style building ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกที่ใช้แบบอาคารซ้ำๆ เป็นคอนกรีตเปลือย มีรูปลักษณ์ใหญ่โต รองรับผู้ชมถึง 1,000 ที่นั่ง เป็นสถานที่จัดฉายภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชาจนถึงปี 1975

.

โรงหนังในกัมพูชาสามารถจัดประเภทออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) ก่อนปี 1950 เช่น Ciné Star, Lux, Eden, Casino, Majestic, Kim Phong, Kim Son, Trung Quoc และอื่นๆ ในเขต Phsar Kandal และ Phsar Chas colonial zone (2) ทศวรรษที่ 1950 เช่น Phnom Penh, Phnom Pich, Vimean Soursdey และ Proum Bayon (3) ทศวรรษที่ 1960 เช่น Hemakcheat, Kirirom, Mkot Pich, Sar Proum Meas และ (4) ทศวรรษที่1970 เช่น Vimean Tip, Santepheap และ Monoroth


.

เรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ก่อนที่เขมรแดงจะเข้ามามีอำนาจ อุตสาหกรรมภาพยนตร์พวกเขารุ่งเรืองเพียงใด อีกทั้งเรื่องราวตัวอาคาร ยังช่วยระบุหน้าที่การใช้งานของอาคารในสมัยนั้น และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้สนใจเกี่ยวกับการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมท้องถิ่นและตะวันตก


.

และนี่คือเรื่องราวของสิ่งปูกสร้างและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก่อนยุคเขมรแดงของกัมพูชา ยุคที่เรื่องราวทางศิลปวัฒธรรธรรมของพวกเขาไม่น้อยหน้าใครในอาเซียน


_______________________________


ขอบคุณข้อมูลประกอบ- อภิญญา ตะวันออก จากคอลัมน์ อัญเจียแขฺมร์ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12 - 18 กรกฎาคม 2562


#TheIsaander #ข่าวอาเซียน #เขมร #กัมพูชา #Lastnightisawyousmiling #เขมรแดง #พลพต #งูเก็งกอง #รักข้ามขอบฟ้า

60 views0 comments
bottom of page